简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เปิดมายังไม่ถึง 2 เดือนแรกของปี 2563 เศรษฐกิจไทยก็ตกอยู่ในอาการรวนหนัก ทั้งจากหลากสถานการณ์รุมเร้าเดิมๆ ที่ยังตามมาปั่นป่วนเศรษฐกิจไทยในปีนี้
เปิดมายังไม่ถึง 2 เดือนแรกของปี 2563 เศรษฐกิจไทยก็ตกอยู่ในอาการรวนหนัก ทั้งจากหลากสถานการณ์รุมเร้าเดิมๆ ที่ยังตามมาปั่นป่วนเศรษฐกิจไทยในปีนี้ได้แก่ สงครามการค้า ระหว่างสหรัฐและจีน แม้จะอยู่ในอาการพักรบ แต่ประเมินได้ว่าไม่น่าจะจบลงโดยง่าย ฉุดยอดส่งออกของไทย บวกกับสถานการณ์การเมืองไทยที่เป็น “รัฐบาลเสียงปริ่มน้ำ” ไม่อาจเรียกได้ว่ามีเสถียรภาพได้เต็มปาก
ขณะที่ปัจจัยแทรกซ้อนสำคัญที่ซ้ำเติมเข้ามา คือ ความล่าช้าในการพิจารณาพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 วงเงิน 3.2 ล้านล้านบาท ทำให้ในช่วงที่ผ่านมารัฐไม่อาจขับเคลื่อนนโยบายสำคัญๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้ ปัญหาภัยแล้ง อีกปัญหาสำคัญคือการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (โรคโควิด-19) จากจีนไปค่อนโลกซึ่งภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ขับเคลื่อนอัตราการเจริญเติบโตเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ราว 20% ได้รับผลกระทบไปเต็มๆ ทำให้ ณ ขณะนี้ เครื่องยนต์เศรษฐกิจไทยอยู่ในอาการซวนเซ ไม่เพียงภาคท่องเที่ยว เมื่อเศรษฐกิจทั่วโลกได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ย่อมส่งผลกระทบต่อฐานการผลิต ส่งออกของไทย ฐานที่เป็นหนึ่งในซัพพลายเชนผลิตสินค้าป้อนโลก ขณะที่การลงทุนภาครัฐและเอกชน การบริโภคภาครัฐ เอกชน อยู่ในภาวะชะลอตัว
ล่าสุดทำให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ปรับลดประมาณการขยายตัวเศรษฐกิจไทย จากระดับ 2.7-3.7% ลงมาเหลือ 1.5-2.5% โดยมีค่ากลางที่ 2% สะท้อนชัดถึงผลกระทบจากเศรษฐกิจไทยที่ได้รับผลกระทบจากตัวแปรทั้งภายในและภายนอกประเทศดังกล่าว ที่ผ่านมาคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ยังมีมติเอกฉันท์ ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% เหลือ 1 %ถือเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ เพื่อลดภาระทางการเงินของผู้ประกอบการ ผู้บริโภค และกระตุ้นการลงทุนไปในที ขณะเดียวกันภาครัฐโดยกระทรวงการคลังยังส่งสัญญาณที่จะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ในช่วงเดือนมี.ค.ประคองเศรษฐกิจไทย รวมถึงมีแนวคิดที่จะนำเงินส่วนหนึ่งที่ได้รับจากการประมูล 5 จีรวมกว่า แสนล้านบาทมาใช้เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลในปีนี้ ซึ่งจะมีส่วนในการดันเศรษฐกิจ
เราหวังว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐที่จะออกมารอบนี้ จะคิดอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะการ “ลดต้นทุน” การประกอบการของภาคธุรกิจ ในภาวะที่ผู้คนในประเทศและต่างประเทศยังรัดเข็มขัด กำเงินสดไว้ในมือ ไปพร้อมกับการแก้ไข “ปัญหาสภาพคล่อง” ในระบบธุรกิจ และผู้บริโภค ลดการพุ่งขึ้นของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ที่กำลังก่อตัวจากกำลังซื้อที่ชะลอตัวอาทิ ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ท่องเที่ยว และโรงแรม ที่เหลือก็ได้แต่ภาวนาขอให้การระบาดของโรคโควิด-19 จะคลี่คลายลงโดยเร็ว กลายเป็น “สัญญาณบวก” ของเศรษฐกิจไทยของแท้ ตามการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว และการผลิตเพื่อส่งออก ขณะที่การแก้ไขปัญหาระยะยาวแน่นอน คือการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างเศรษฐกิจไทย หันมาให้น้ำหนักเศรษฐกิจจากภายใน ไม่งั้นโลกจาม ไทยก็ติดหวัดแบบนี้อยู่ร่ำไป
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ปีที่ผ่านมาตลาดหุ้นซิมบับเวเติบโตสูงสุด เนื่องจากมีการพิมพ์เงินออกมามากขึ้นเมื่อเผชิญวิกฤติ เพื่อให้ค่าเงินอ่อนลงและรอดพ้นจากวิกฤติเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับสหรัฐที่ทำในลักษณะเดียวกัน ซึ่งหลายคนมองว่าเราอาจอยู่ในฟองสบู่ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์
ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้ลงนามในร่างกฎหมายบรรเทาทุกข์ทางเศรษฐกิจมูลค่า 1.9 ล้านล้านดอลลาร์เมื่อวันพฤหัสบดี โดยสั่งจ่ายเช็คกระตุ้นให้บุคคลและครอบครัวที่มีคุณสมบัติตามรายได้และเงินบรรเทาทุกข์จำนวนมากที่จะส่งไปยังเมืองโรงเรียนและธุรกิจต่างๆ
‘เยลเลน’ต่อสายตรงรมว.คลังอินโดฯ หวังกระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ุใหม่ (โควิด-19) ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกถดถอยรุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติการณ์ และยังไม่ทราบแน่ชัดว่า เมื่อใดจะกลับมาฟื้นตัวเต็มที่ พัฒนาการของวัคซีนทำให้เศรษฐกิจโลกดูมีความหวังก็จริง แต่นักเศรษฐศาสตร์ยังมีเรื่องที่น่าห่วง
XM
TMGM
IC Markets Global
IQ Option
HFM
OANDA
XM
TMGM
IC Markets Global
IQ Option
HFM
OANDA
XM
TMGM
IC Markets Global
IQ Option
HFM
OANDA
XM
TMGM
IC Markets Global
IQ Option
HFM
OANDA