简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ปีที่ผ่านมาตลาดหุ้นซิมบับเวเติบโตสูงสุด เนื่องจากมีการพิมพ์เงินออกมามากขึ้นเมื่อเผชิญวิกฤติ เพื่อให้ค่าเงินอ่อนลงและรอดพ้นจากวิกฤติเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับสหรัฐที่ทำในลักษณะเดียวกัน ซึ่งหลายคนมองว่าเราอาจอยู่ในฟองสบู่ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์
เมื่อปี 2563 หลายๆ ประเทศทั่วโลกทั้งสหรัฐ กลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป แอฟริกาใต้ ตุรกี อินโดนีเซีย จนไปถึงฟิลิปปินส์ ต่างแห่กันพิมพ์เงินออกมาเพื่อรักษาและเยียวยาสภาพเศรษฐกิจของประเทศตัวเองทั้งนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลก ทองคำ จนไปถึงบิทคอยน์ต่างพากันทำ All-Time High ตลาดหุ้นนิวยอร์กเติบโตขึ้น 50% จากช่วงระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงมากเมื่อเทียบกับปีทั่วๆ ไปที่อัตราการเติบโตอยู่ที่ 9% ต่อปี ส่วนตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ก็เติบโตสูงไม่แพ้กันที่ประมาณ 25% นับจากช่วงปีที่ผ่านมา ซึ่งมากกว่าปีทั่วๆ ไปถึง 20%
แต่คุณผู้อ่านรู้ไหมครับว่าตลาดหุ้นของประเทศไหนเติบโตสูงที่สุดในรอบปีที่ผ่านมา คำตอบนั่นคือประเทศซิมบับเวครับ ตลาดหุ้นซิมบับเว หรือ Zimbabwe Industrial Index เติบโตมากขึ้นถึง 481% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เพราะสิ่งนี้เองจึงทำให้ภาวะเศรษฐกิจของโลก ณ ตอนนี้น่ากลัวอย่างยิ่งครับ
ถ้าใครยังจำกันได้ เมื่อตอนปี 2550 โรเบิร์ต มูกาเบ ประธานาธิบดีของซิมบับเว ได้สร้างนโยบายทางเศรษฐกิจที่ก่อให้เกิดค่าเงินอ่อนตัวลงอย่างรุนแรงเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ ทำให้ราคาอุปกรณ์สินค้าเกษตรอย่างเช่นปุ๋ย เพิ่มสูงขึ้นทันที รัฐบาลจึงต้องพิมพ์เงินออกมาจำนวนมากเพื่อแก้ไขปัญหานี้เฉพาะหน้า นั่นทำให้เงินเฟ้อในประเทศเพิ่มขึ้นสูง 89,700 ล้านล้านล้านเปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว ซึ่งทำให้เศรษฐกิจของซิมบับเวตกที่นั่งลำบากทันที
อย่างไรก็ตาม 2 ปีถัดมาประเทศซิมบับเวตัดสินใจสร้างสกุลเงินของประเทศขึ้นมาใหม่ และหลังจากนั้นประเทศซิมบับเวก็กลายเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจเติบโตทุกปี แต่พอมาถึงปี 2561 ประเทศซิมบับเวก็เจอกับปัญหาเศรษฐกิจอีกครั้ง จากการที่ภัยแล้งครั้งใหญ่ส่งผลให้สินค้าเกษตรของซิมบับเวไม่ได้รับผลผลิตตามที่ตลาดต้องการ ทำให้รัฐบาลตัดสินใจที่พิมพ์เงินอีกครั้งเพื่อมาช่วยเหลือเศรษฐกิจอีกรอบ ทำให้เมื่อตอนเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา 70% ของเงินในซิมบับเวเป็นเงินที่เพิ่งพิมพ์ออกมาหมด ทำให้เศรษฐกิจสามารถอยู่รอดได้ แต่ก็ทำให้ค่าเงินของซิมบับเวยิ่งอ่อนค่าลงไปกว่าเดิม
หลังจากเดือน ม.ค.ในปีที่แล้ว อย่างที่ทุกคนทราบโรคระบาดโควิด-19 ก็ได้แพร่ระบาดไปทั่วโลก ทำให้ซิมบับเวต้องพิมพ์เงินออกมามากไปกว่าเดิม ทำให้ตอนนี้มากกว่า 93% ของเงินในซิมบับเวถูกพิมพ์ออกมาในรอบ 24 เดือนที่ผ่านมาครับ และส่งผลให้ราคาของทุกอย่างเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ที่ตลาดหุ้นของซิมบับเวขึ้นมาสูงมากขนาดนี้ ไม่ใช่เพราะผลงานหรือกำไรของบริษัท แต่เป็นเพราะว่ารัฐบาลตั้งใจทำให้ค่าเงินของตัวเองอ่อนค่าเพื่อที่ทำให้ประเทศรอดพ้นจากวิกฤติเศรษฐกิจครับ
ความจริงแล้วไอเดียของการพิมพ์เงินของซิมบับเวไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรกในประวัติศาสตร์โลกครับ เมื่อวันที่ 19 ต.ค.2530 ได้เกิดเหตุการณ์แพนิคยิ่งใหญ่ขึ้นในวอลสตรีท ตั้งแต่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในปี 2472 ในวันนั้นตลาดหุ้นอเมริกันตกลงมาถึง 20% ในวันเดียว นักลงทุนต่างเริ่มกังวลว่าจะเกิดเหตุการณ์แบบเดียวกันเมื่อ 58 ปีที่แล้ว แต่ในวันนั้นประธานธนาคารกลางสหรัฐ (FED) อลัน กรีนสแปน มีไอเดียหนึ่งขึ้นมาว่าแทนที่จะปล่อยให้สถาบันการเงินและธนาคารต่างๆ ล้มละลาย เขาตัดสินใจอัดฉีดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจเพื่อสร้างสภาพคล่องขึ้นมาในตลาดหุ้น เหตุการณ์สำคัญในครั้งนี้เรียกว่า Greenspan Put ซึ่งสิ่งนี้เองกลับกลายเป็นครั้งแรกที่รัฐบาลสหรัฐอัดฉีดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจ
ถึงแม้ว่าตลาดหุ้นอเมริกันจะกลับมาที่จุดเดิมหลังจากวันนั้นยาวนานถึง 2 ปี แต่ก็ทำให้สหรัฐรอดพ้นจากวิกฤติเศรษฐกิจในครั้งนั้นไปได้ เพราะสิ่งนี้ทำให้สถาบันการเงินเข้าใจว่าสิ่งที่ FED ต้องการคืออยากให้เศรษฐกิจโตต่อเนื่องตลอดเวลา และไม่อยากให้มีการตกต่ำของเศรษฐกิจเลย ในตลอดทศวรรษที่ 90 ธนาคารต่างๆ เลยพยายามที่จะเสี่ยงมากยิ่งขึ้น นักลงทุนต่างพากันใช้มาร์จิ้นในการลงทุนมากขึ้นเรื่อยๆ และคนธรรมดาทั่วไปก็แห่กันมาเล่นหุ้นในตลาดเพิ่มมากขึ้น
พอตอนวิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์ตอนปี 2551 เกิดขึ้น เรื่องต่างๆ ก็ซ้ำรอยเหมือนกับตอนปี 2530 แต่นอกจากการพิมพ์แบงก์ออกมา เบน เบอร์นันเก้ ประธาน FED ในสมัยนั้นก็ยังลดอัตราดอกเบี้ยจนเกือบระดับ 0% ทำให้ค่าเงินอเมริกันอ่อนค่าลงไปเรื่อยๆ นานหลายปี จนกระทั่งเมื่อปี 2561 เมื่อประธาน FED คนใหม่อย่างเจอโรม พาวเวลล์ ตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 11 ปี และหยุดอัดฉีดเงินเข้าไปสู่ระบบเศรษฐกิจ ทันใดนั้นตลาดหุ้นก็ร่วงทันที 17%
จากนั้นอย่างที่ผมพูดไปตอนต้น เราได้อยู่ในตลาดกระทิงครั้งที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งบางคนก็อาจจะคิดว่าเพราะบริษัทใหญ่ๆ ทำผลงานได้ดีจริง หรือเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว หรือแม้กระทั่งเพราะคนธรรมดาทั่วไปต่างแห่กันเข้ามาลงทุน แต่จริงๆ แล้วเพราะรัฐบาลสหรัฐตั้งใจทำให้ค่าเงินของตัวเองอ่อนลงเพื่อที่จะไม่ได้เจอกับการปรับฐานในเศรษฐกิจ เหมือนกับที่ประเทศซิมบับเวทำ นั่นคือเหตุผลที่คนเลยพูดว่าเราอยู่ในฟองสบู่ครั้งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์
ข่าวดีคือว่ามันอาจจะไม่ได้เกิดขึ้นเร็วๆ นี้ มีนักวิเคราะห์ทำนายว่าสหรัฐจะพยายามอ่อนค่าเงินลงไปอีกในตลอดทศวรรษนี้ นั่นแปลว่าหุ้นและการลงทุนจะทะยานขึ้นไปอีกตลอดทศวรรษนี้ แต่การพิมพ์เงินยาวนานขนาดนั้นอาจจะเกิดเหตุการณ์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือ นอกจากสถาบันการเงินจะล้ม แต่จะรวมไปถึงสิ่งที่เรียกว่า Fail State หรือการล่มสลายของสหรัฐครับ แต่อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นไปได้คือ การเข้ามาของ AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานจนแซงการพิมพ์เงินของประเทศในทศวรรษข้างหน้า ซึ่งอาจจะทำให้การพิมพ์เงินสามารถหยุดได้ไปในที่สุด
แต่ถ้าสองสิ่งนี้ไม่เกิดขึ้น เราอาจจะได้เห็นการล่มสลายของดอลลาร์ในการเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ ซึ่งอาจจะทำให้สกุลเงินอย่างเงินหยวน หรือเงินเยน ที่มีการปรับตัวของรัฐบาลเพื่อให้ไม่เกิดฟองสบู่ขึ้นมาเป็นสกุลสำรองระหว่างประเทศแทน หรือแม้กระทั่งอาจจะเป็นสกุลเงินที่ไม่ได้ออกโดยรัฐบาลอย่างบิทคอยน์ที่ขึ้นมาแทนก็เป็นได้
สุดท้ายนี้ผมขอฝากประโยชน์ชื่อดังที่เซอร์จอห์น เทมเปิลตัน เคยพูดไว้ว่า 4 คำที่อันตรายที่สุดในการลงทุนคือ “ครั้งนี้มันแตกต่างออกไป”
ขอขอบคุณบทความจาก คุณ ทิวัตถ์ ชุติภัทร์ | คอลัมน์ คุยให้... คิด | BangkokBiznews
เลือกโบรกเกอร์มันยากไม่รู้จะเอาอะไรดี ลองมาดูการจัดอันดับโบรกเกอร์ Forex จาก WikiFX ไหม เราได้จัดอันดับโบรกเกอร์ดีและไม่ดี ให้คุณได้เลือกโบรกง่ายขึ้น ถ้าโบรกเกอร์คุณติดอันดับ 50 ขึ้นไปถือว่าสามารถสบายใจได้เลยว่าโบรกเกอร์ของคุณนั้นมาตรฐานดี ดาวน์โหลดแอพ WikiFX เลย!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้ลงนามในร่างกฎหมายบรรเทาทุกข์ทางเศรษฐกิจมูลค่า 1.9 ล้านล้านดอลลาร์เมื่อวันพฤหัสบดี โดยสั่งจ่ายเช็คกระตุ้นให้บุคคลและครอบครัวที่มีคุณสมบัติตามรายได้และเงินบรรเทาทุกข์จำนวนมากที่จะส่งไปยังเมืองโรงเรียนและธุรกิจต่างๆ
‘เยลเลน’ต่อสายตรงรมว.คลังอินโดฯ หวังกระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ุใหม่ (โควิด-19) ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกถดถอยรุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติการณ์ และยังไม่ทราบแน่ชัดว่า เมื่อใดจะกลับมาฟื้นตัวเต็มที่ พัฒนาการของวัคซีนทำให้เศรษฐกิจโลกดูมีความหวังก็จริง แต่นักเศรษฐศาสตร์ยังมีเรื่องที่น่าห่วง
ชัยชนะของโจ ไบเดนจากพรรคเดโมแครตในการเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเหมือนจะช่วยบรรเทาความกระวนกระวายในตลาดสัปดาห์นี้ แม้ว่าประธานาธิบดีโดนัล ทรัมป์จะปฏิเสธผลการเลือกตั้งและมีการใช้ทีมกฏหมายเข้าสู้ แต่เนื่องจากอำนาจในการควบคุมวุฒิสภายังไม่เป็นที่แน่ชัด และความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส ทำให้ความคาดหวังในการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในเดือนมกราคมไม่น่าเป็นไปได้ว่าจะเกิดขึ้น นักลงทุนยังคงเฝ้าติดตามความเคลื่อนไหวจากธนาคารกลางสหรัฐ
FXTM
STARTRADER
GO MARKETS
Tickmill
FBS
VT Markets
FXTM
STARTRADER
GO MARKETS
Tickmill
FBS
VT Markets
FXTM
STARTRADER
GO MARKETS
Tickmill
FBS
VT Markets
FXTM
STARTRADER
GO MARKETS
Tickmill
FBS
VT Markets