简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:“พาวเวล” ส่งสัญญาณชะลอหั่นดอกเบี้ย คาดปรับลดเพียง 2 ครั้งในปีหน้า
เจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ได้จัดแถลงข่าวภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมนโยบายการเงินเมื่อวานนี้ (18 ธ.ค.) โดยกล่าวว่า เฟดได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยหลายครั้งในช่วงที่ผ่านมา แต่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมในอนาคตนั้น จะเป็นไปอย่างระมัดระวังและจะขึ้นอยู่กับว่าเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูงหรือไม่ ซึ่งถ้อยแถลงดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าเฟดเริ่มตระหนักถึงความเป็นไปได้ที่ภาวะเศรษฐกิจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ภายใต้การบริหารของโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ
“ผมคิดว่าเราอยู่ในจุดที่ดี แต่ผมก็คิดว่าเราจะเข้าสู่เฟสใหม่นับจากนี้ และเราจะต้องระมัดระวังเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมในวันข้างหน้า” พาวเวลกล่าว
ขณะเดียวกันพาวเวลมองว่า ผู้บริโภคกำลังรับรู้ถึงผลกระทบจากราคาสินค้าที่สูงขึ้น มากกว่าอัตราเงินเฟ้อโดยรวมที่ระดับสูง
“เราเข้าใจดีว่าราคาสินค้าได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก และประชาชนรู้สึกได้จริง ๆ ทั้งราคาอาหาร การขนส่ง เครื่องทำความร้อนในบ้าน และสิ่งอื่น ๆ ดังนั้นประชาชนจึงรู้สึกถึงผลกระทบอันใหญ่หลวงจากการพุ่งขึ้นของเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นทั่วโลก” พาวเวลกล่าว และเสริมว่า “แม้ว่าขณะนี้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงแล้ว แต่ประชาชนก็ยังคงรู้สึกถึงราคาสินค้าที่สูง”
ทั้งนี้ พาวเวลกล่าวว่า วิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือการที่เฟดยังคงดำเนินการต่อไปเพื่อฉุดเงินเฟ้อให้กลับสู่เป้าหมาย เพื่อให้ค่าจ้างสามารถปรับตัวทันเงินเฟ้อ ซึ่งในที่สุดจะช่วยให้ผู้บริโภคมีความรู้สึกที่ดีขึ้นต่อเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ พาวเวลกล่าวว่า เฟดจะรอให้เงินเฟ้อมีความคืบหน้าในการปรับตัวลงสู่เป้าหมาย ก่อนที่เฟดจะตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม และยังกล่าวด้วยว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดในปีหน้าจะไม่ขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ในวันนี้
“ผมคิดว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่เราจะดำเนินการในปีหน้านั้น จะไม่ได้ขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ในวันนี้ เราจะตอบสนองต่อข้อมูลเศรษฐกิจที่เราจะได้รับในวันข้างหน้า นั่นคือสิ่งที่คณะกรรมการเฟดพิจารณาแล้วว่าเหมาะสม” พาวเวลกล่าวเมื่อผู้สื่อข่าวถามเกี่ยวกับการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Dot Plot) ซึ่งเจ้าหน้าที่เฟดส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปี 2568 ลงเพียง 2 ครั้ง ครั้งละ 0.25% จากเดิมที่ส่งสัญญาณว่าจะปรับลดดอกเบี้ย 4 ครั้ง
สำหรับการประชุมในครั้งนี้ คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของเฟดมีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นลง 0.25% สู่ระดับ 4.25-4.50% ตามคาด แต่ในรายงาน Dot Plot นั้น เจ้าหน้าที่เฟดส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปี 2568 ลงเพียง 2 ครั้ง ครั้งละ 0.25% รวม 0.50% จากเดิมที่ส่งสัญญาณในเดือนก.ย.ว่าจะปรับลดดอกเบี้ย 4 ครั้ง ครั้งละ 0.25% รวม 1.00% ในปี 2568
ขอบคุณสำนักข่าวอินโฟเควสท์
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย :https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ความมั่นใจเป็นคุณสมบัติที่ดีสำหรับนักเทรด แต่ความมั่นใจเกินไปอาจเป็นดาบสองคมที่ทำให้คุณพลาดโอกาสในการทำกำไร และอาจทำให้คุณเสี่ยงต่อการขาดทุนที่ไม่จำเป็น ดังนั้น การรักษาความมั่นใจในตัวเองในระดับที่พอเหมาะ พร้อมกับการยอมรับความเสี่ยงและการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ จะช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในตลาดได้อย่างยั่งยืน
Zero-Day Options คือเครื่องมือที่เหมาะกับเทรดเดอร์ที่รักความท้าทาย ชอบการเทรดแบบจบภายในวัน และพร้อมรับมือกับความผันผวนที่สูง เทรดเดอร์ที่เก่งกาจสามารถเปลี่ยนความเสี่ยงนี้ให้กลายเป็นโอกาสทำกำไรได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่สำหรับมือใหม่ก็ต้องศึกษาและฝึกฝนให้มากก่อนที่จะกระโจนเข้าสู่สนามนี้
ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก
การทำงานของความกลัวในตลาดไม่ต่างจากการทำงานของสัญชาตญาณในตัวเรา เมื่อเรามองเห็นความไม่แน่นอนหรือความเสี่ยง ความกลัวจะกระตุ้นให้เราหลีกเลี่ยงหรือป้องกันตัวเองจากการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้น เมื่อตลาดมีความผันผวนมากขึ้นหรือเมื่อมีข่าวที่ไม่ดีออกมา นักลงทุนมักจะตกอยู่ในสภาวะตกใจและเกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาดได้ง่าย
FXTM
Vantage
Neex
FBS
IC Markets Global
EC Markets
FXTM
Vantage
Neex
FBS
IC Markets Global
EC Markets
FXTM
Vantage
Neex
FBS
IC Markets Global
EC Markets
FXTM
Vantage
Neex
FBS
IC Markets Global
EC Markets