简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เศรษฐกิจสหรัฐฯ
นักเศรษฐศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจฟันธง เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาไม่ถดถอย แต่ชะลอตัวแน่นอน แนะธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เร่งหั่นดอกเบี้ยเพื่อสอดรับกับเศรษฐกิจตามความเป็นจริง หลังจากก่อนหน้านี้ดำเนินนโยบายเข้มงวดเกินไปจน ‘ล้ำหน้า’ ข้อมูลเศรษฐกิจ ด้าน CIMB ย้ำ อัตราว่างงานบอกเหตุการณ์ตามหลัง ไม่ใช่ล่วงหน้า
จากสัปดาห์ที่ผ่านมา ตัวเลขเศรษฐกิจภาคตลาดแรงงานและตัวเลขการผลิตของสหรัฐฯ ส่งสัญญาณชะลอตัวอย่างมีนัยสำคัญจนแทบจะปิดประตูสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ No Landing โดยล่าสุดนักวิเคราะห์และนักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากได้แสดงความคิดเห็นว่า ตอนนี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังจะเข้าสู่สภาวะ Hard Landing หรือการเข้าสู่ช่วงที่เศรษฐกิจจะชะลอตัว อัตราการว่างงานสูงขึ้น และการใช้จ่ายภาคครัวเรือนลดลง เพราะขาดความเชื่อมั่น
The Wall Street Journal รายงานว่า นักวิเคราะห์และนักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากออกมาให้ความเห็นว่า Fed ประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจช้าเกินไป และต้องรีบปรับกลยุทธ์เพื่อรับมือกับเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงอย่างรวดเร็ว ไม่เช่นนั้นผลกระทบของความพยายามที่คุมเงินเฟ้อจะทำให้ภาคเศรษฐกิจชะลอมากกว่าที่ตั้งเป้าไว้
โดยนักเศรษฐศาสตร์แนะนำว่า Fed ควรรีบปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายกลับลงมาสู่ค่าที่เป็นกลาง (Neutral Rate) ให้เร็วที่สุด ถึงแม้ว่าค่านั้นๆ จะไม่สามารถชี้วัดได้อย่างเป็นรูปธรรม แต่นักเศรษฐศาสตร์หลายคนให้ความเห็นว่า ค่านั้นๆ จะอยู่ที่ประมาณ 3-4% หากเทียบกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันที่ 5.25-5.50% ยังมีช่องให้ปรับลดได้อีกประมาณ 2%
Michael Feroli หัวหน้าฝ่ายนักเศรษฐศาสตร์ของ JPMorgan กล่าวว่า การที่การว่างงานเพิ่มสูงขึ้นนั้นเกิดจากการจ้างงานที่ลดลงก่อนหน้านี้ คนที่ไม่ได้หางานในช่วงก่อนหน้านี้เมื่อกลับมาเริ่มหางาน ทำให้อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น
“อัตราดอกเบี้ยนั้นควรปรับลดลงมาที่ค่ากลางให้เร็วที่สุด และคาดหวังว่า Fed จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมาถึง 1.25% ลงมาที่ประมาณ 4% ภายในปีนี้ โดยต้องปรับลดครั้งละ 0.5% ในอีก 2 วาระการประชุมในเดือนกันยายนและพฤศจิกายนนี้”
Feroli กล่าวอีกว่า ประธาน Fed ดำเนินนโยบายเข้มงวดเกินไปจน ‘ล้ำหน้า’ ข้อมูลเศรษฐกิจ และควรจะกลับมาอยู่ในเส้นได้แล้ว มันไม่มีเหตุผลที่จะดำเนินนโยบายเข้มงวดต่อ ถ้าข้อมูลไม่ออกมาน่าผิดหวังภายใน 6 สัปดาห์ต่อจากนี้
CIMB มอง สหรัฐฯ ไม่ถดถอย แต่เป็น Soft Landing มากกว่า
วันนี้ (6 สิงหาคม) ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย (CIMB Thai) โพสต์ผ่าน Facebook โดยระบุว่า ตอนนี้ไม่ฟันธงว่าสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย แต่คาดว่าเป็นการลงจอดอย่างนิ่มนวล (Soft Landing) มากกว่า
ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลงหนักเมื่อวาน เพราะห่วงเศรษฐกิจสหรัฐฯ ถดถอย เข้าสู่ภาวะ Hard Landing จนเก็งกันว่า Fed จะต้องลดดอกเบี้ยแรงเพื่อประคองเศรษฐกิจ
โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ลดลงอย่างรวดเร็ว คนแห่ถือเงินสดและสินทรัพย์ปลอดภัย แต่เอาเข้าจริงนักลงทุนดูอะไรถึงเชื่อแบบนี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ แย่แล้วแน่ๆ
ก่อนหน้านี้มีคนอ้างถึงการใช้อัตราว่างงานที่เพิ่มขึ้นเป็นเกณฑ์ชี้วัด แต่ในมุมนักเศรษฐศาสตร์ ผมอยากบอกว่าอัตราว่างงานมันบอกเหตุการณ์ตามหลัง ไม่ใช่ล่วงหน้า อยากแนะนำให้ติดตามตัวแปรชี้นำเศรษฐกิจ หรือ Leading Economic Indicators ในกราฟนี้
ตัวเลขล่าสุดบอกว่าสหรัฐฯ กำลังเติบโตช้าลง น่าเหมาะกับภาวะ Soft Landing มากกว่า GDP ไตรมาส 2 ที่ออกมาดี แต่น่าชะลอลงในไตรมาส 3 เหลือสัก 1% ก็ไม่ใช่เรื่องแย่
แต่แน่นอนว่ากำลังชะลอลงจอดแบบนิ่มๆ ได้จริงหรือไม่ ก็ให้ตามตัวเลข 10 ตัวนี้ดีกว่าครับ ล่าสุดมีเรื่องภาคการผลิตอ่อนแอ ISM ดูแย่ แถมตอนนี้ตลาดหุ้นตก บอนด์ยีลด์ลง ก็ยิ่งเข้าทางให้สถานการณ์ดูแย่ และอาจกระทบความเชื่อมั่นผู้บริโภคได้
แต่ให้ดูการเติบโตของค่าจ้างและตัวแปรอื่นๆ ด้วย เพราะด้านการเงินผันผวนได้เร็วมาก แต่ภาพแบบนี้อาจเห็นเศรษฐกิจสหรัฐฯ โตต่ำกว่าที่คาดว่าปีนี้จะโตได้ 2.4%
“แนะนำอ่านต่อได้ครับ เผื่อตัวเลขใหม่ออกมาจะได้ประเมินกัน แต่ตอนนี้ผมไม่ฟันธงว่าถดถอย”
ทั้งนี้ เงื่อนไขของ 5 สถานการณ์ทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีดังนี้
1.Hard Landing คือสถานการณ์ที่เศรษฐกิจอ่อนตัวต่อเนื่องติดต่อกันหลายไตรมาส (ตัวเลขสรุป GDP รายไตรมาส), อัตราการว่างงาน (Unemployment Rate) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ, อัตราการจ้างงานลดลง (Nonfarm Payroll) และการบริโภคของภาคครัวเรือนและเอกชนลดลง เพราะขาดความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจ (ตัวเลขสะท้อนในดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) และความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence)
2.Soft Landing คือสถานการณ์ที่เศรษฐกิจถึงแม้จะเติบโตช้าลง แต่ก็ยังพอโตได้เรื่อยๆ (GDP ทรงตัว) และเงินเฟ้อยังอยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้ (ไม่ต่ำกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2%) อัตราการว่างงานไม่สูงจนเกินไป ไม่ควรปรับตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
3.No Landing คือสถานการณ์ที่เศรษฐกิจเติบโตได้ดีไม่มีสะดุด เงินเฟ้ออยู่ในเกณฑ์สูง กิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ภาคแรงงานแข็งแกร่ง
4.Stagflation คือสถานการณ์ที่เศรษฐกิจหดตัว แม้เงินเฟ้อจะอยู่ในเกณฑ์สูง เกิดจากฝั่งอุปทานที่ลดลง ทำให้แรงงานว่างงานกันมากขึ้น เหมือนกับว่าเศรษฐกิจไม่ดี คนไม่กล้าใช้เงิน เพราะสินค้าราคาแพงจากเงินเฟ้อ
5.Recession เศรษฐกิจหดตัวอย่างมีนัยสำคัญ คนตกงานเพิ่มขึ้นมาอย่างมีนัยสำคัญ คนไม่กล้าใช้เงินแม้สินค้าจะปรับราคาลดลงแล้วก็ตาม เพราะขาดความเชื่อมั่นในการบริโภค
อ้างอิง: https://www.wsj.com/economy/central-banking/lousy-jobs-report-forces-fed-to-reckon-with-hard-landing-74357163?mod=economy_lead_pos3
ขอบคุณสำนักข่าว THE STANDARD
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย :https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
การเทรด Forex ที่ประสบความสำเร็จสามารถเปรียบเทียบกับการเดินเรือข้ามมหาสมุทรที่ต้องใช้การวางแผนและความระมัดระวังในทุกขั้นตอน ซึ่งใน 5 วิธีที่กล่าวถึงนี้ ไม่มีขั้นตอนใดที่สามารถขาดไปได้: 1. Plan (การวางแผน) = จุดหมายปลายทาง 2. Strategy (กลยุทธ์) = แผนที่เส้นทางเพื่อที่จะไปยังจุดหมายปลายทาง 3. Risk Management (การจัดการความเสี่ยง) = ขับเรืออย่างระวังเพื่อที่จะไม่ให้ไปชนภูเขาน้ำแข็ง 4. Lookout for News (ติดตามข่าวสาร) = มีไหวพริบที่ดี สังเกตุถึงความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้น 5. Play Your Own Game (เล่นเกมส์ชีวิตของตัวเองโดยไม่ไปแข่งกับผู้อื่น) = มุ่งไปหาเป้าหมายที่เราตั้งไว้
เจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ได้กล่าวสุนทรพจน์ว่าด้วยแนวโน้มเศรษฐกิจในงานเสวนาซึ่งจัดขึ้นที่เมืองดัลลัส รัฐเท็กซัสเมื่อวานนี้ว่า
กฎสำคัญของการเทรดแบบ Scalping 1.ใช้กลยุทธ์ Scalping ที่มีคุณภาพ 2.หาจุดคุ้มทุน (Break-even stops) 3.อย่าคิดว่าการเทรดบ่อย ๆ จะทำให้ได้เงินเยอะ 4.ติดตามกลยุทธ์การเทรด 5.ปฏิบัติตามแผนกลยุทธ์การเทรดที่วางไว้ 6.เทรดด้วยอัตราการชนะที่มากกว่า 7.ใช้กรอบเวลาที่เหมาะสม 8.เริ่มต้นเล็ก ๆ ก่อน 9.เชี่ยวชาญในโครงสร้างตลาด 10.ฝึกฝนการเทรดทุกวัน
สเปรดมีความสำคัญต่อเทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์เนื่องจากมีผลต่อต้นทุนการเทรดโดยตรง สเปรดที่ต่ำช่วยลดต้นทุนและรักษากำไรได้มากขึ้น โดยเฉพาะเทรดเดอร์ที่เทรดบ่อยหรือในปริมาณมาก สเปรดที่สูงสามารถลดกำไรเมื่อเวลาผ่านไป เทรดเดอร์ที่ใช้กลยุทธ์ Scalping และ Day Trading จะไวต่อสเปรดสูง เนื่องจากอาจลดหรือทำให้กำไรหายไป การเลือกโบรกเกอร์ที่มีสเปรดต่ำจึงสำคัญ ความผันผวนของตลาดอาจทำให้สเปรดกว้างขึ้น เทรดเดอร์มักเลือกเทรดในช่วงสภาพคล่องสูงและใช้คำสั่ง Limit เพื่อลดต้นทุน สุดท้าย การเลือกโบรกเกอร์ที่มีบัญชี ECN และการหลีกเลี่ยงข่าวผันผวนช่วยจัดการความเสี่ยงได้ดีขึ้น
Vantage
HFM
Octa
Pepperstone
IQ Option
VT Markets
Vantage
HFM
Octa
Pepperstone
IQ Option
VT Markets
Vantage
HFM
Octa
Pepperstone
IQ Option
VT Markets
Vantage
HFM
Octa
Pepperstone
IQ Option
VT Markets