简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ตัวเลขเศรษฐกิจน่าติดตามประจำสัปดาห์
ตัวเลขเศรษฐกิจน่าติดตาม
วันอังคารที่ 24 ต.ค. 2023
•20.45 น. : ดัชนี PMI ภาคการผลิตสหรัฐฯ (Flash Manufacturing PMI)
ตัวเลขครั้งก่อน 49.8 ตัวเลขคาดการณ์ 49.5
•20.45 น. : ดัชนี PMI ภาคการบริการสหรัฐฯ (Flash Services PMI)
ตัวเลขครั้งก่อน 50.1 ตัวเลขคาดการณ์ 49.9
วันพฤหัสบดีที่ 26 ต.ค. 2023
•19.30 น. : ดัชนี GDP สหรัฐฯ (Advance GDP q/q)
ตัวเลขครั้งก่อน 2.1% ตัวเลขคาดการณ์ 4.5%
วันศุกร์ที่ 27 ต.ค. 2023
•19.30 น. : ดัชนีราคาผู้บริโภคส่วนบุคคลสหรัฐฯ เดือน/เดือน (Core PCE Price Index m/m)
ตัวเลขครั้งก่อน 0.1% ตัวเลขคาดการณ์ 0.3%
•21.00 น. : ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคมิชิแกนสหรัฐฯ (Revised UoM Consumer Sentiment)
ตัวเลขครั้งก่อน 63.0 ตัวเลขคาดการณ์ 63.0
ควรจับตา รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ผลการประชุม ECB และรายงานผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน พร้อมระวังความผันผวนจากภาวะสงคราม
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทยเปิดเผยว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา ภาวะสงครามยังคงช่วยหนุนให้ราคาทองคำสามารถปรับตัวขึ้น แม้บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯจะพุ่งขึ้นแรงกว่า +30bps
แม้ความเสี่ยงสงครามยังไม่ได้ลดลงชัดเจน ทว่าเงินดอลลาร์อาจผันผวนไปตามมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มนโยบายการเงินเฟด โดยเงินดอลลาร์มีโอกาสแข็งค่าขึ้นต่อ หากภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงสดใสและแข็งแกร่งกว่าคาด ในส่วนของค่าเงินบาท มีแนวโน้มผันผวนไปตามทิศทางเงินดอลลาร์ ราคาทองคำและราคาน้ำมันดิบ
มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก
1. ฝั่งสหรัฐฯ – แม้ว่าสถานการณ์สงครามยังมีความไม่แน่นอนและเสี่ยงที่จะบานปลายมากขึ้น ทว่าในสัปดาห์นี้ เรามองว่าผู้เล่นในตลาดจะให้ความสำคัญต่อทิศทางนโยบายการเงินของเฟดมากขึ้น ผ่านการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ จากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ อาทิ อัตราการเติบโตเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ที่ล่าสุด นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มองว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจขยายตัวกว่า +4.1%q/q, เทียบรายปี (GDPNow โดย Atlanta Fed ประเมิน +5.4%) อย่างไรก็ดี แม้ว่า ภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 3 อาจขยายตัวได้แข็งแกร่ง ทว่า นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ต่างมองว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจมีแนวโน้มชะลอลงมากขึ้นในไตรมาส 4 สะท้อนจาก รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและภาคการบริการ (S&P Manufacturing and Services PMIs) เดือนตุลาคม ที่อาจปรับตัวลดลงต่อเนื่อง สู่ระดับต่ำกว่า 50 จุด สะท้อนถึงภาวะหดตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาคการผลิตและภาคการบริการ อนึ่ง หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาดและสะท้อนภาพเศรษฐกิจที่ยังคงแข็งแกร่ง ก็อาจยิ่งทำให้ ผู้เล่นในตลาดกังวลแนวโน้มการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยของเฟดและแนวโน้มเฟดคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงมากขึ้น โดยล่าสุด จาก CME FedWatch Tool ผู้เล่นในตลาดมองว่า เฟดมีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยราว 35% ในต้นปีหน้า ก่อนที่จะเริ่มลดดอกเบี้ยลงในช่วงเดือนมิถุนายนปีหน้า (ลดดอกเบี้ยทั้งหมดราว -75bps) และนอกเหนือจากปัจจัยดังกล่าว เรามองว่า ควรจับตารายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียนอย่างใกล้ชิด โดยในสัปดาห์นี้จะมีการรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทเทคฯ ใหญ่ อาทิ Amazon, Alphabet, Meta และ Microsoft ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อบรรยากาศในตลาดการเงินได้อย่างมีนัยสำคัญ
2. ฝั่งยุโรป – ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของยูโรโซน อย่าง ดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการ โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ต่างมองว่า เศรษฐกิจยูโรโซนยังคงมีแนวโน้มชะลอตัวลงมากขึ้น สะท้อนผ่านดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการ เดือนตุลาคมที่จะต่ำกว่าระดับ 50 จุด อย่างต่อเนื่อง และจากภาพรวมเศรษฐกิจยูโรโซนที่ไม่สดใสนัก กอปรกับแนวโน้มการชะลอตัวลงของอัตราเงินเฟ้อยูโรโซน ทำให้เราประเมินว่า ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้จบรอบการขึ้นดอกเบี้ยไปแล้วที่ระดับ 4.00% (Deposit Facility Rate) ทั้งนี้ ควรจับตาถ้อยแถลงของประธาน ECB เพื่อประเมินแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินของ ECB ในอนาคต
3. ฝั่งเอเชีย – ตลาดจะรอลุ้น รายงานดัชนี PMI ของญี่ปุ่น ในเดือนตุลาคม โดยนักวิเคราะห์มองว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงได้แรงหนุนจากการขยายตัวต่อเนื่องในภาคการบริการที่ได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ขณะที่ภาคการผลิตอาจยังคงหดตัวอยู่ ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ทั้งนี้ ภาพรวมเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ยังคงสดใส กอปรกับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ไม่รวมราคาพลังงานและอาหารสด (Core-Core CPI) ล่าสุด ซึ่งยังคงสูงกว่า 4% อาจเพิ่มโอกาสให้ ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ทยอยใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นได้ ซึ่งต้องจับตาถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ BOJ โดยเฉพาะผู้ว่าฯ BOJ
4. ฝั่งไทย – ตลาดมองว่า ยอดการส่งออก (Exports) เดือนกันยายน อาจหดตัวราว -2%y/y ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานที่สูงในปีก่อน รวมถึงภาพเศรษฐกิจคู่ค้าที่ยังคงชะลอตัวอยู่ อย่างไรก็ดี ยอดการนำเข้า (Imports) ก็อาจหดตัวราว -5.6%y/y ทำให้โดยรวมดุลการค้าอาจเกินดุลได้ราว 900 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ แม้การส่งออกจะยังคงหดตัวอยู่ ทว่า จากผลสำรวจบรรดานักวิเคราะห์ในการประชุม Monetary Policy Forum โดยธนาคารแห่งประเทศไทยล่าสุด นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มองว่า การส่งออกอาจเริ่มทรงตัวในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ ก่อนจะกลับมาขยายตัวได้ในช่วงไตรมาสแรกของปีหน้า
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
XM Group: โบรกเกอร์ชั้นนำ ได้รับการยกย่องในด้านประสบการณ์และการบริการลูกค้าที่ยอดเยี่ยม
บทความนี้นำเสนอมุมมองใหม่เกี่ยวกับการ "ล้างพอร์ต" ในฐานะบทเรียนสำคัญสำหรับนักเทรด โดยชี้ให้เห็นข้อดีที่ช่วยเตือนสติ ลดความประมาท ทบทวนความผิดพลาด และฝึกความอดทนเพื่อพัฒนาตนเองในเส้นทางการเทรด พร้อมทั้งเน้นย้ำถึงความสำคัญของการเลือกเทรดกับโบรกเกอร์ที่มีใบอนุญาต เพื่อป้องกันความเสี่ยงเพิ่มเติม โดยแนะนำแอป WikiFX เป็นเครื่องมือช่วยตรวจสอบข้อมูลโบรกเกอร์อย่างครบถ้วน.
17 ข้อคิดดี ๆ จากหนังสือ
การวางแผนการเทรด Forex อย่างมั่นคงเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้นักเทรดทุกท่านประสบความสำเร็จในระยะยาว อย่าลืมว่าแผนการเทรดที่ดีจะช่วยปกป้องคุณในช่วงเวลาที่ตลาดผันผวน และเป็นเครื่องมือสำคัญในช่วงที่ตลาดเอื้อต่อการทำกำไร
Pepperstone
Vantage
FP Markets
ATFX
FXTM
HFM
Pepperstone
Vantage
FP Markets
ATFX
FXTM
HFM
Pepperstone
Vantage
FP Markets
ATFX
FXTM
HFM
Pepperstone
Vantage
FP Markets
ATFX
FXTM
HFM