简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:BeInCrypto - ตลาดสินค้าฟุ่มเฟือยเติบโตจากวงการศิลปะ เข้าสู่โลกคริปโต ในช่วงที่ตลาด NFT งานศิลปะเบ่งบ
BeInCrypto - ตลาดสินค้าฟุ่มเฟือยเติบโตจากวงการศิลปะ เข้าสู่โลกคริปโต ในช่วงที่ตลาด NFT งานศิลปะเบ่งบาน นักลงทุนหลายรายมุ่งความสนใจไปที่งานศิลปะนานาชาติ NFT และสินค้าหรูราอย่างนาฬิกา Rolex
อย่างไรก็ตาม จากการที่การเติบโตทางเศรษฐกิจถดถอย ตลาดสินค้าฟุ่มเฟือยกำลังประสบกับภาวะขาลง
ตลาดงานศิลปะทั่วโลกฟืดเคือง
ข้อมูลจาก Washington Post เผยว่าตลาดงานสิลปะมีมูลค่าถึง 6.78 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2022 คิดเป็นการเติบโตร้อยละ 3 จากปี 2021 อย่างไรก็ตาม ในปี 2021 เองถือว่าเติบโตจากปี 2022 ถึงร้อยละ 30 เงินที่สะพัดเข้าไปในตลาดงานสิลปะคิดเป็น 9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
สหรัฐอเมริกาเป็นผู้ขับเคลื่อนตลาดศิลปะรายหลัก โดยมีผลงานศิลปะชื่อดังอย่าง Shot Sage Blue Marily ของ Andy Warhol ซึ่งมีมูลค่า 195 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และ Salvator Mundi ของ Leonardo Da Vinci ซึ่งจำหน่ายไปในราคา 450 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2017
อย่างไรก็ตาม ตลาดสูญเสียกระแสความนิยมในช่วงปลายปี 2022 เป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย ภาวะเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากปัจจัยเหล่านี้ บรรดานักลงทุนสินค้าฟุ่มเฟือยยังลดรายจ่ายของตน
แบรนด์ต่าง ๆ อย่าง Burberry Group Plc และ Kerri SA ผู้เป็นบริษัทแม่ของ Gucci รายงานว่า “กลุ่มเป้าหมายของเรา ซึ่งเป็นนักลงทุนกลุ่มอายุน้อย ระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้นในปี 2023”
ตลาด NFT ซบเซา แต่ตลาดจีนอาจเป็นผู้คืนชีพวงการ
กระแสความคึกคักในตลาด NFT ลดลงอย่างเห็นได้ชัด หลังจากที่มูลค่าตลาดพุ่งถึง 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2020 มาเป็น 2.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2021 จากนั้น พบว่าราคา NFT ที่เกี่ยวข้องกับงานศิลปะลดลงราว 50% ในปี 2022
จากการที่นักลงทุนรุ่นเยาว์ยังคงลงทุนในศิลปะต่อเนื่อง กลุ่มนักลงทุนดังกล่าวมีสินทรัพย์ในครอบครองเกิน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รวมถึงอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจส่วนตัว ซึ่งทำให้พวกเขาแตกต่างจาก “Crypto Bros” ที่เข้ามาในอุตสาหกรรมในช่วงอุตสาหกรรมคริปโตกลายเป็นกระแส
OpenSea Historical Activity. Source: DappRadar
Washington Post แนะว่าจีนอาจเป็นผู้เล่นสำคัญที่จะฟื้นคืนตลาดศิลปะและสินค้าฟุ่มเฟือย หลังจากวิกฤตเศรษฐกิจในปี จีนมีบทบาทสำคัญในการคืนชีพตลาด นอกจากนี้ เหตุการณ์ที่ผ่านมาอย่าง Art Basel Hong Kong และสัญญาณเชิงบวกจากแบรด์ต่าง ๆ เช่น Prada และ Moncler แสดให้เห็นการกลับมาของตลาดสินค้าฟุ่มเฟือย นอกจากนี้ นักวิเคราะห์จาก Bernstein ยังสังเกตการณ์บรรดาแฟชันนิสตาในประเทศจีนซึ่งเริ่มกลับมาเดินทางไปต่างประเทศอีกครั้ง
สำหรับเจ้าใหญ่ในตลาดสินค้าไฮเอนด์อย่าง Balenciaga ไปจนถึง Basquit พวกเขาต่างหวังให้นักท่องเที่ยวชาวจีนกลับมาช็อปปิ้งขนานใหญ่อีกครั้งเพื่อกระตุ้นตลาดสินค้าหรูหรา
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ