简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ดัชนีดาวโจนส์ ปิดวันจันทร์ (29 พ.ย.)ปรับตัวขึ้น 236 จุด หลังประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐ กล่าวว่า สหรัฐไม่มีแผนล็อกดาวน์เศรษฐกิจเพื่อสกัดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน
นอกจากนี้ ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทยังได้หลากหลายปัจจัยบวกที่เข้าหนุนตลาด ขณะที่นักลงทุนพากันส่งแรงซื้อเก็งกำไร หลังจากตลาดทรุดตัวลงอย่างหนักในสัปดาห์ที่แล้ว
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 236.60 จุด หรือ 0.68% ปิดที่ 35,135.94 จุด ดัชนีเอสแอนด์พี 500 เพิ่มขึ้น 60.65 จุด หรือ 1.32% ปิดที่ 4,655.27 จุด และดัชนีแนสแด็ก เพิ่มขึ้น 291.18 จุด หรือ 1.88% ปิดที่ 15,782.83 จุด
ประธานาธิบดีโจ ไบเดนกล่าวในวันนี้ว่า รัฐบาลสหรัฐไม่มีนโยบายที่จะประกาศล็อกดาวน์เศรษฐกิจ อันเนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน
“ถ้าประชาชนเข้ารับการฉีดวัคซีน และสวมหน้ากากอนามัย ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องล็อกดาวน์ และจะไม่มีการประกาศห้ามการเดินทางครั้งใหม่ ไม่ช้าก็เร็ว เราจะเห็นผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนในสหรัฐ ดังนั้นกรุณาสวมหน้ากากเมื่ออยู่ในอาคาร หรืออยู่ในที่สาธารณะ ซึ่งมีผู้คนจำนวนมาก” ปธน.ไบเดนกล่าว
หุ้นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการเปิดเศรษฐกิจ เช่น กลุ่มสายการบิน และกลุ่มธุรกิจเรือสำราญ ต่างพุ่งขึ้นในการซื้อขายวันนี้ ขานรับแถลงการณ์ของปธน.ไบเดน
หุ้นกลุ่มพลังงานดีดตัวขึ้นในวันนี้ สอดคล้องกับราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นกว่า 5%
ราคาหุ้นทวิตเตอร์ อิงค์พุ่งขึ้น หลังจากที่นายแจ็ค ดอร์ซีย์ ประกาศลาออกจากตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท
ขณะเดียวกัน นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า หลังมีการระบาดของไวรัสโอไมครอน
FedWatch Tool ของ CME Group ซึ่งวิเคราะห์การซื้อขายสัญญาล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของสหรัฐ พบว่า นักลงทุนคาดว่าเฟดมีแนวโน้มเพียง 58.5% ที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมนโยบายการเงินในเดือนมิ.ย.2565 จากเดิมที่คาดว่ามีแนวโน้มสูงถึง 82.1%
นอกจากนี้ นักลงทุนยังได้ปรับลดแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดในเดือนก.ค.2565 เหลือเพียง 69% จากเดิมที่ระดับ 88% และลดแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนก.ย.2565 เหลือ 79.7% จากเดิม 94.5% รวมทั้งลดแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธ.ค.2565 เหลือ 92% จากเดิม 99%
นักวิเคราะห์ยังคาดการณ์ว่า ไวรัสโอไมครอนจะส่งผลกระทบเพียงชั่วคราวต่อตลาด ขณะที่บริษัทผลิตวัคซีนต่างเร่งพัฒนาวัคซีนสูตรใหม่ที่จะสามารถรับมือกับไวรัสโอไมครอน โดยคาดว่าจะได้รับการอนุมัติในต้นปีหน้า
ส่วนการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐในวันนี้ สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (เอ็นเออาร์) เปิดเผยว่า ดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) พุ่งขึ้น 7.5% ในเดือนต.ค. เมื่อเทียบรายเดือน
ก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าดัชนีจะทรงตัวในเดือนต.ค.
การทำสัญญาขายบ้านดีดตัวขึ้นในทุกภูมิภาค แม้ราคาบ้านอยู่ในระดับสูง และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองปรับตัวขึ้นแต่เมื่อเทียบรายปี ดัชนีปรับตัวลง 1.4% ในเดือนต.ค.
ทั้งนี้ ดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย เป็นมาตรวัดจำนวนสัญญาซื้อบ้านมือสองที่มีการเซ็นสัญญาแล้วแต่ยังไม่ได้ปิดการขาย และโดยปกติแล้วจะใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือนสำหรับการเซ็นสัญญาจนกระทั่งปิดการขาย
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์เพิ่มขึ้น 15.73 จุด หรือ 0.04% ปิดที่ 35,756.88 จุด ดัชนีเอสแอนด์พี 500 เพิ่มขึ้น 8.31 จุด หรือ 0.18% ปิดที่ 4,574.79 จุด และดัชนีแนสแด็ก เพิ่มขึ้น 9.01 จุด หรือ 0.06% ปิดที่ 15,235.72 จุด
ดัชนีดาวโจนส์ ปิดวันศุกร์ (27ส.ค.)พุ่งขึ้น 242 จุดหลังประธานเฟดส่งสัญญาณชัดเจนว่า เฟดมีแนวโน้มที่จะเริ่มปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) ก่อนสิ้นปีนี้
ดัชนีดาวโจนส์ ปิดวันพฤหัสบดี(26ส.ค.)ปรับตัวร่วงลง 53 จุด หลังเปิดตลาดในแดนบวก ขณะที่นักลงทุนจับตาถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในการประชุมประจำปีของเฟดในวันนี้
ดัชนีดาวโจนส์ ปิดวันพฤหัสบดี(19ส.ค.)ร่วงลง 66 จุด ขณะที่นักลงทุนกังวลว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) เร็วกว่าที่คาดไว้
FOREX.com
Vantage
FBS
FxPro
Tickmill
TMGM
FOREX.com
Vantage
FBS
FxPro
Tickmill
TMGM
FOREX.com
Vantage
FBS
FxPro
Tickmill
TMGM
FOREX.com
Vantage
FBS
FxPro
Tickmill
TMGM