简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ถ้าปีที่แล้วจนถึงต้นปีนี้เป็นยุคของ DeFi ตอนนี้ก็คงบอกได้ว่าเป็นยุคของ GameFi เรียบร้อยแล้ว เกมผุดมาไม่หยุดทุกวัน ดีบ้างแย่บ้างตามประสา แต่ก็ออกมาเยอะจริง ๆ
นักเขียนสาย IT คริปโทได้ออกมาโพสต์ Facebook พูดเรื่องเกมในวงการคริปโทว่าทำไมมันถึงแชร์ลูกโซ่ มีทั้งข้อดีและข้อเสีย และอยากให้ทุกคนที่ได้อ่านใช้พิจารณาในการลงทุนและระมัดระวังถึงความเสี่ยงให้ดี
ถ้าปีที่แล้วจนถึงต้นปีนี้เป็นยุคของ DeFi ตอนนี้ก็คงบอกได้ว่าเป็นยุคของ GameFi เรียบร้อยแล้ว เกมผุดมาไม่หยุดทุกวัน ดีบ้างแย่บ้างตามประสา แต่ก็ออกมาเยอะจริง ๆ ผลก็ออกมาหลายรูปแบบ บางคนก็ร่ำรวยกันไปในขณะที่บางคนก็เจ๊งระนาว สาเหตุก็ไม่ต่างอะไรกับยุค DeFi คือน้อยคนนักที่มี “ความเข้าใจในกลไกทางเศรษฐศาสตร์ของตัวโปรดักส์” ซึ่งสำคัญมาก ๆ นะ เพราะตลาดนี้มันเป็น Zero Sum Game มีทั้งคนได้และคนเสีย คำถามคือจะทำยังไงให้เป็นคนได้ไม่ใช่คนเสีย ?
ก็ต้องเข้าใจ “พื้นฐาน” ของสิ่งที่เรากำลังจะเข้าไปเล่นอยู่นั่นเองครับ ไม่มีอะไรซับซ้อนกว่านั้น แล้วอะไรคือพื้นฐานของเกม NFT ทุกวันนี้หละ ? ความจริงบอกไปหลายรอบแล้วแต่ก็ขอเน้นย้ำอีกทีเพราะน่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคนว่า พื้นฐานของเกม NFT เป็น “แชร์ลูกโซ่ (Ponzi)” ครับ
ทำไมเกม NFT ถึงเป็นแชร์ลูกโซ่ ?
ถามว่าทำไม ? ก่อนอื่นก็ต้องเข้าใจนิยามของแชร์ลูกโซ่กันก่อน แชร์ลูกโซ่คือ “เงินลงทุนของคนที่มาหลังถูกจ่ายให้เป็นรายได้ของผู้ลงทุนที่มาก่อน” มันถึงเรียกว่าแชร์ลูกโซ่ เพราะตราบใดที่ยังหาคนมาต่อลูกโซ่ได้เรื่อย ๆ ทุกคนที่อยู่ก่อนก็จะยังได้เงินอยู่เรื่อย ๆ แต่พอถึงจุดที่ไม่มีใครมาต่อแล้ว แชร์ลูกโซ่ก็จะแตก คนที่คืนทุนแล้วก็สบายไปแต่คนที่เข้ามาใหม่ก็จ่ายรอบวงนั่นเอง แล้วทำไมเกม NFT ถึงเป็นแชร์ลุกโซ่หละ ? คำถามนี้สามารถตอบได้จากคำถามที่ง่ายกว่า “คิดว่าที่เล่นเกมแล้วได้เงินเนี่ย เงินที่ได้กันเนี่ยมาจากไหน ?”
หากไล่เรียงทำความเข้าใจ สุดท้ายก็จะรู้ว่าเงินพวกนั้นก็มาจากคนที่เข้ามาใหม่เอาเงินมาลงนั่นเอง หรือไม่ก็คนเก่าเอาเงินมาลงเพิ่ม แบบ เล่น Axie แล้วได้ SLP มาขาย คิดว่าใครซื้อ ? ก็คือคนที่จะ Breed สร้าง Axie ตัวใหม่ แล้ว Axie ที่เกิด ๆ มาไปไหน ? ก็เอาไปวางขายให้คนเข้าใหม่ไง ตามนั้น หรือไม่ว่าจะเกมอะไรก็ตาม จนถึงตอนนี้ทุกตัวเข้าข่าย Ponzi Scheme ทั้งสิ้น เพราะยังไม่มีเกมไหนที่ Generate รายได้จากภายนอกเพื่อ Feed เข้าระบบเลย เป็นการเอาเงินลงทุนจากคนใหม่ไปจ่ายให้คนเก่าทั้งสิ้น ตอนนี้ก็มีบางเกมพยายามสร้างรายได้จากภายนอกอยู่บ้าง แต่ก็ยังไม่เสร็จสักตัว จนถึงตอนนี้เล่นมาหลายสิบเกมก็ต้องบอกว่าไ่ม่ว่าจะออกแบบตัวเกมเป็นอย่างไรแต่สุดท้ายทุกตัวก็ตกเป็นแบบเดียวกันหมด ยังไงหากมีเกมไหนที่ Launch แล้วแต่ไม่ได้มีเศรษฐศาสตร์แบบนี้ก็ฝากบอกด้วยครับ อยากลองไปศึกษาเพิ่มดู
ถ้าเข้าใจตรงนี้แล้วก็ต้องเริ่มยอมรับกันว่าเกมที่เรากำลังจะก้าวเข้าไปเนี่ยมันคือแชร์ลูกโซ่นะ ใช่ครับ แชร์ลูกโซ่แบบแม่มณีหรืออะไรที่มีผู้เสียหายมากมายนั่นแหละ ไม่ต่างกัน
เป็นแชร์ลูกโซ่แล้วไงต่อ ?
ถามว่าห้ามเล่นมั้ย ? ก็บอกว่าไม่ แต่ถ้าจะเล่นก็ต้องทำความเข้าใจและยอมรับความเสี่ยงกันก่อนจะเข้าเล่น “ลุกช้าจ่ายรอบวง” เป็น Concept ของทุกเกมที่มีอยู่ในตลาดตอนนี้
หากอยากเล่นจริง ๆ ก็ต้องยอมรับความเสี่ยงกันนะและก็อย่าลืมทำความเข้าใจ Mechanic เบื้องหลังของเศรษฐศาสตร์แบบนี้กันด้วย เพราะถ้าเข้าใจก็ได้เปรียบ แต่ถ้าไม่เข้าใจก็เป็นเหยื่อ ถ้าจะเล่นก็อย่าลงเยอะ อย่า All In ประเมินความเสี่ยงและแรงกระแทกที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
ด้วยความปรารถนาดี
ฝากไว้ในวันที่ GameFi กลายเป็น Norm ของวงการ
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
FOREX.com
Pepperstone
Tickmill
EC Markets
Octa
GO MARKETS
FOREX.com
Pepperstone
Tickmill
EC Markets
Octa
GO MARKETS
FOREX.com
Pepperstone
Tickmill
EC Markets
Octa
GO MARKETS
FOREX.com
Pepperstone
Tickmill
EC Markets
Octa
GO MARKETS