简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:อีกหนึ่งประเทศจากอีกฟากโลกอย่าง ‘เลบานอน’ ก็กำลังเผชิญกับวิกฤตเช่นกัน แต่ร้ายแรงกว่าเราหลายเท่า ธนาคารโลกกล่าวว่า วิกฤตการณ์ทางการเงินนี้อาจจัดอยู่ใน Top 3 ของโลก
ในขณะที่ประเทศเรา กำลังเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย อีกหนึ่งประเทศจากอีกฟากโลกอย่าง ‘เลบานอน’ ก็กำลังเผชิญกับวิกฤตเช่นกัน แต่ร้ายแรงกว่าเราหลายเท่า ธนาคารโลกกล่าวว่า วิกฤตการณ์ทางการเงินนี้อาจจัดอยู่ใน Top 3 ของโลกที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่กลางปี ค.ศ. 1800 ค่าเงินหายไปมากกว่า 90% ของมูลค่าและการว่างงานพุ่งสูงขึ้น
การล่มสลายทางการเงินของเลบานอนเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2019 โดยเศรษฐกิจเลบานอนย่ำแย่อยู่แล้วตั้งแต่ก่อนเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 อัตราส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Debt-to-GDP) สูงที่สุดเป็นอันดับสามของโลก อัตราการว่างงานอยู่ที่ 25% และเกือบหนึ่งในสามของประชากรมีรายได้ต่ำกว่าเส้นแบ่งความยากจน (Poverty Line)ขณะที่ธนาคารกลางเลบานอนออกนโยบาย ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่าไม่ต่างจากระบบธุรกิจแบบ ‘แชร์ลูกโซ่ที่’
ธนาคารกลางใช้วิธีกู้ยืมเงินจากธนาคารพาณิชย์โดยให้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าปกติ เพื่อนำไปชำระหนี้และช่วยทำให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินปอนด์เลบานอนและดอลลาร์สหรัฐฯ คงที่ ขณะเดียวกัน ผู้คนก็ไม่พอใจมากขึ้นเรื่อย ๆ ที่รัฐบาลไม่สามารถดูแลบริการสาธารณูปโภคพื้นฐานต่าง ๆ ได้ เช่น เกิดไฟฟ้าดับรายวัน ไม่มีน้ำสะอาดดื่ม เข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างจำกัด และสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่ให้บริการอยู่ถือว่าแย่ที่สุดประเทศหนึ่ง
เวิลด์แบงก์ระบุว่า ตัวเลขเศรษฐกิจที่หดตัวมากขนาดนี้ ปกติจะเกิดเมื่อมีสถานการณ์ความขัดแย้ง หรือสงคราม แต่สำหรับประเทศเลบานอน เป็น “ความผิดพลาดในการบริหารจัดการ” ของรัฐบาล ส่งผลงบประมาณขาดดุลสูงมาก ทำให้ประเทศมีหนี้สาธารณะมหาศาล รวมกับนโยบายทางการเงินที่ไม่ยั่งยืนทำให้ธนาคารล้มละลาย และค่าเงินร่วงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์
“ฮัสซัน เดียบ” อดีตนายกฯรักษาการเลบานอน ระบุว่า สาเหตุที่เลบานอนเกิดปัญหามากขนาดนี้ มาจาก “ระบบคอร์รัปชั่น” ที่ฝังลึกในทุกภาคส่วนของรัฐบาล ซึ่งปัญหาเหล่านี้ยิ่งใหญ่มากเกินกว่าที่รัฐบาลจะสามารถเผชิญหน้า หรือกำจัดออกไปได้ -ขณะที่หลายฝ่ายโทษชนชั้นปกครองที่เอาแต่ตักตวงขณะอยู่ในอำนาจมาหลายปี ไม่สามารถทำการปฏิรูปครั้งใหญ่เพื่อแก้ไขปัญหาในประเทศได้
ในช่วงต้นเดือน ต.ค. 2019 ปัญหาการขาดแคลนสกุลเงินตราต่างประเทศทำให้เงินปอนด์เลบานอนอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อผู้นำเข้าข้าวสาลีและเชื้อเพลิงบังคับให้ผู้ซื้อต้องชำระหนี้ด้วยเงินดอลลาร์สหรัฐฯ สหภาพแรงงานต่าง ๆ ก็พากันออกมาประท้วง พอมาถึงช่วงกลางเดือนเดือน ต.ค. รัฐบาลก็เสนอเก็บภาษีรูปแบบใหม่กับผลิตภัณฑ์ยาสูบ น้ำมัน และการโทรศัพท์ผ่านแอปพลิเคชันอย่างว็อตส์แอพพ์ (WhatsApp) แต่ก็โดนต่อต้านจนต้องล้มเลิกไป ชาวเลบานอนหลายหมื่นคนออกประท้วงตามท้องถนน ซึ่งเป็นการประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตน์ ทำให้นายกรัฐมนตรีซาอัด อัล ฮาริรี ที่ได้รับการสนับสนุนจากชาติตะวันตก และรัฐบาลของเขาต้องลาออก
26 กรกฎาคม 2021 เลบานอนเพิ่งได้ “นายกรัฐมนตรีคนใหม่” หลังความขัดแย้งทางการเมืองทำให้ประเทศไม่มีนายกฯ มาเกือบปี รัฐสภาเลบานอนได้ลงมติ แต่งตั้งเศรษฐีพันล้านที่รวยที่สุดในประเทศ “นาจิบ มิคาติ” เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ แต่ “มิคาติ” ซึ่งเข้ามาเป็นผู้นำเพื่อแก้วิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของประเทศ กลับเป็นคนที่ผู้ประท้วงไม่ต้องการ เนื่องจากมองว่าคุณสมบัตินายกฯ ไม่ควรเป็นคนที่ “ร่ำรวยจากการเมือง” เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการคอร์รัปชัน ดังนั้นการเลือกคนรวยที่สุดภายในประเทศ อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีสำหรับการเป็นผู้นำช่วงวิกฤตนี้
ขณะที่ทางการสหรัฐระบุว่า จะไม่มีการช่วยเหลือจากนานาชาติ หากเลบานอนไม่มีการปฏิรูประบอบการเมืองของประเทศ โดยกุญแจสำคัญอยู่ที่ผู้นำเลบานอน ว่าจะสามารถแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการปฏิรูปประเทศได้หรือไม่ เพื่อให้การช่วยเหลือจากต่างประเทศนั้นไม่สูญเปล่าเหมือนแต่ก่อน
แม้ว่าประเทศจะใหญ่แค่ไหน มีทรัพยากรล้นเหลือเพียงใด ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ผู้นำประเทศ และระบบการบริหาร มีผลต่อทิศทางของประเทศจริง ๆ การทุจริต ใช้อำนาจในทางที่ผิด อาจส่งผลร้ายแรงจนทำให้ดินแดนนั้น ๆ ล่มสลายได้เลย
ตอนนี้คุณสามารถติดตามข่าวสารเศรษฐกิจโลก เช็คปฎิทินข่าวเศรษฐกิจ อ่านบทความแนวโน้มตลาด Forex พร้อมรับเทคนิค กลยุทธ์ การเทรด Forex ที่เราคัดสรรค์มาให้ทุกวันได้ฟรี ที่แอป WikiFX โหลดเลย!
ขอบคุณข้อมูลจาก: prachachat.net, mgronline.com, bbc.com, mei.edu และ reuters.com
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
เชื่อว่าหลายคนคงต้องรู้จักวิฤตการเงินที่ร้ายแรงที่สุดครั้งนึงของโลก วิฤตของประเทศ ‘เวเนซูเอลา’ จากประเทศที่ร่ำรวยมหาศาลจากปริมาณสำรองน้ำมันดิบใหญ่ที่สุดในโลก กลายเป็นประเทศเศรษฐกิจตกต่ำจมดิน
ย้อนไปเมื่อปี 2018 ธนาคารกลางอาร์เจนตินา ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็น 60% จนทำให้อาร์เจนตินาติดกลุ่มประเทศที่มีเงินเฟ้อสูงที่สุดในโลก
EC Markets
OANDA
XM
IQ Option
FXTM
Tickmill
EC Markets
OANDA
XM
IQ Option
FXTM
Tickmill
EC Markets
OANDA
XM
IQ Option
FXTM
Tickmill
EC Markets
OANDA
XM
IQ Option
FXTM
Tickmill