简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:สรุปให้เข้าใจ ลดคุ้มครองเงินฝากเหลือ 1 ล้านบาท คืออะไร? ต้องเตรียมตัวยังไงบ้าง? ประเด็นเรื่องของการ "คุ้มครองเงินฝาก 1 ล้านบาท"กลายเป็นที่พูดถึงอย่างมากบนโลกออนไลน์ นั่นเพราะจะเริ่มมีการบังคับใช้ในวันที่ 11 สิงหาคม ที่จะถึงนี้
สรุปให้เข้าใจ ลดคุ้มครองเงินฝากเหลือ 1 ล้านบาท คืออะไร? ต้องเตรียมตัวยังไงบ้าง? ประเด็นเรื่องของการ “คุ้มครองเงินฝาก 1 ล้านบาท”กลายเป็นที่พูดถึงอย่างมากบนโลกออนไลน์ นั่นเพราะจะเริ่มมีการบังคับใช้ในวันที่ 11 สิงหาคม ที่จะถึงนี้
การคุ้มครองเงินฝากคืออะไร?
สถาบันคุ้มครองเงินฝาก (DPA) จะมีหน้าที่ดูแลเงินฝากในธนาคารของเรา คือเมื่อไหร่ที่ธนาคารเกิดมีปัญหาอะไรขึ้นมา เงินส่วนนี้ก็จะได้รับการคุ้มครองอัตโนมัติ โดยจะได้รับเงินทุกบาททุกสตางค์ ภายใน 30 วัน
จุดเริ่มต้นการคุ้มครองเงินฝาก
ในอดีตประเทศไทยเราไม่ได้มีการคุ้มครองเงินฝากแต่อย่างใด จนกระทั่งเจอกับวิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540 ซึ่งมีสถาบันการเงินล้มหายตายจากไปจำนวนมาก
รัฐบาลสมัยนั้น กังวลเรื่องความเชื่อมั่นของธนาคารที่เหลืออยู่ ก็เลยประกาศ “ค้ำประกัน” ให้กับเจ้าหนี้และผู้ฝากเงินเต็มจำนวน (โดยให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ มารับหนี้ดังกล่าว) นั่นคือจุดเริ่มต้นของการคุ้มครองเงินฝากในไทย
ต่อมาในปี 2546 เศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวและเติบโตได้ดี ทางธนาคารแห่งประเทศไทยก็เลยเสนอไปว่าควรจะมีการจัดตั้ง “สถาบันคุ้มครองเงินฝาก” ขึ้นมา เพื่อผลประโยชน์ของผู้ฝากเงินโดยตรง
ในที่สุดหลังจากร่างกฎหมายและผ่านขั้นตอนต่างๆ นานเกือบ 5 ปี ในที่สุดสถาบันคุ้มครองเงินฝากก็เกิดขึ้น และการคุ้มครองเงินฝากก็บังคับใช้ในวันที่ 11 สิงหาคม 2551
บัญชีเงินฝากแบบไหนที่ได้รับการคุ้มครอง?
เงินที่ถูกคุ้มครองจะต้องเป็นสกุลเงินบาทกับบัญชี 5 ประเภท ได้แก่ 1.) เงินฝากกระแสรายวัน 2.) เงินฝากออมทรัพย์ 3.) เงินฝากประจำ 4.) บัตรเงินฝาก และ 5.) ใบรับฝากเงิน
ลดวงเงินคุ้มครองเหลือ 1 ล้านบาทจะมีผลอะไรบ้าง?
ก่อนหน้านี้วงเงินคุ้มครองอยู่ที่ 5 ล้านบาท แต่หลังจากลดเหลือ 1 ล้านบาท แปลว่าต่อไปนี้ยอดเงินฝากที่เกิน 1 ล้านบาท ก็จะไม่ถูกคุ้มครองอีกแล้ว
เช่น ฝากเงิน 5 ล้านกับธนาคาร A และหากธนาคาร A ถูกปิดกิจการขึ้นมา เราจะได้รับเงินคืนชัวร์ๆ เพียง 1 ล้านบาทเท่านั้น!
ส่วนที่เหลือต้องมาลุ้นอีกทีว่าทรัพย์สินของธนาคารมีอยู่เท่าไหร่ ซึ่งก็มีโอกาสที่จะได้เงินคืนไม่ครบ
ทั้งนี้ ต้องบอกว่าวงเงิน 1 ล้าน เป็นการคุ้มครองต่อ 1 คน ต่อ 1 สถาบันการเงิน คือถ้าเราฝากเงินไว้หลายธนาคาร ก็จะถูกคุ้มครองธนาคารละไม่เกิน 1 ล้านบาท โดยไม่นำวงเงินมานับรวมกัน
แต่ถ้าเป็นกรณีที่มีหลายบัญชีในธนาคารเดียวกัน อันนี้ต้องเอาวงเงินมานับรวมกันนะ
คนที่มีเงินฝากเกิน 1 ล้านบาท ควรทำยังไงดี?
หากไม่อยากรับความเสี่ยงกรณีธนาคารปิดกิจการ สิ่งที่ทำได้ก็คือการกระจายเงินฝากไปยังหลายๆ ธนาคาร แห่งละไม่เกิน 1 ล้านบาท การแบ่งเงินบางส่วนไปลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงขึ้น ก็เป็นวิธีหนึ่งที่อยากแนะนำ เพราะดีกว่าปล่อยเงินทิ้งไว้เฉยๆ โดยไม่ได้สร้างประโยชน์อะไร
คนไทย 98% มีเงินฝากไม่ถึง 1 ล้านบาท
ข้อมูลจากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ระบุว่า คนไทย 98% ฝากเงินไม่เกิน 1 ล้านบาทอยู่แล้ว นโยบายนี้จึงไม่น่าส่งผลมากนักต่อประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก FinSpace และ BillionWay
แนะนำฟีเจอร์ “จัดอันดับโบรกเกอร์” คุณกำลังมองหาโบรกเกอร์ Forex แนะนำอยู่หรือไม่ ถ้าใช้ให้ดาวน์โหลดแอพ WikiFX เพื่อตรวจสอบโบรกเกอร์หรือดูการจัดอันดับ โบรกเกอร์ Forex เพราะแอพ WikiFX ได้ตรวจสอบโบรกเกอร์และคัดสรรมาให้หมดแล้ว ว่าโบรกเกอร์ไหนดีหรือไม่ดี
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
TMGM
GO MARKETS
Tickmill
Vantage
FxPro
FOREX.com
TMGM
GO MARKETS
Tickmill
Vantage
FxPro
FOREX.com
TMGM
GO MARKETS
Tickmill
Vantage
FxPro
FOREX.com
TMGM
GO MARKETS
Tickmill
Vantage
FxPro
FOREX.com