简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ต้อนรับการมาของวัคซีน "ซิโนแวค" ที่มีกำหนดถูกส่งจากจีนถึงไทยวันนี้ (24 ก.พ.) ไปชมกระบวนการผลิตวัคซีนต้านโควิด-19 ชนิดเชื้อตายของบริษัทจีนรายนี้ "ตั้งแต่ต้นจนจบ" กว่าจะได้วัคซีนแต่ละโดสต้องผ่านขั้นตอนอะไรบ้าง
หลังจากโรค โควิด-19 อุบัติขึ้นและแพร่ระบาดทั่วโลกอย่างรวดเร็วเมื่อปลายปี 2562 จนส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อจำนวนกว่า 110 ล้านคนแล้วในปัจจุบัน และนำหายนะอันมิอาจประเมินค่ามาสู่โลก ทำให้ “วัคซีน” กลายเป็นความหวังของมวลมนุษยชาติในการยับยั้งโรคระบาดใหญ่ครั้งนี้
คณะนักวิทยาศาสตร์ที่ บริษัท ซิโนแวค ไลฟ์ ไซแอนซ์ จำกัด (Sinovac Life Sciences) ในกรุงปักกิ่ง ดำเนินการเพาะเชื้อไวรัสภายในวีโรเซลล์ (Vero cells) ก่อนคัดเลือกสายพันธุ์มีพิษและเหมาะสมสำหรับการผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่มีชื่อว่า ซีแซด (CZ)
ปัจจุบัน มีประชาชนจำนวนมากได้รับวัคซีนโควิด-19 ชนิดเชื้อตาย โดยกระบวนการผลิตวัคซีนโควิด-19 ชนิดเชื้อตายของจีนประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่
1. การเพาะเชื้อไวรัส
2. การทำให้เชื้อตาย
3. การทำให้บริสุทธิ์
4. การกำหนดสูตรผลิตวัคซีน
5. การบรรจุวัคซีนลงภาชนะ
และ 6. การนำใส่หีบห่อ
ขั้นตอนแรกคือ การเพิ่มจำนวนเชื้อไวรัสโคโรนาจำนวนมาก นักวิทยาศาสตร์จะฉีดไวรัสลงถังปฏิกรณ์ชีวภาพแบบสุญญากาศที่เต็มไปด้วยวีโรเซลล์ ซึ่งได้จากการสกัดเซลล์ไตของลิงเขียวแอฟริกัน โดยวีโรเซลล์ที่เป็นเซลล์เพาะเลี้ยงชนิดต่อเนื่องสามารถเพิ่มจำนวนผ่านวงจรการแบ่งตัวหลายครั้งและไม่แปรสภาพเป็นเซลล์ชำรุด (senescent) ขณะเชื้อไวรัสโคโรนาที่อยู่ภายในเซลล์ดังกล่าวเพิ่มจำนวนตัวเองอย่างรวดเร็ว
ต่อมา เชื้อไวรัสจะถูกส่งผ่านหลอดสุญญากาศไปยังถังปฏิกรณ์ชีวภาพอีกถังหนึ่ง และเข้าสู่กระบวนการยับยั้งการทำงานของไวรัส ซึ่งส่งผลให้เชื้อไวรัสสูญเสียความสามารถก่อโรคหรือเพิ่มจำนวนในอีกหลายชั่วโมงถัดมา กลายสภาพเป็นกลุ่มเชื้อไวรัสชนิดเชื้อตายที่จะถูกนำไปยังจุดทำให้บริสุทธิ์ ซึ่งมีการกำจัดสารยับยั้งและสิ่งเจือปนอื่นๆ ให้คงเหลือเพียงสารละลายวัคซีน
จากนั้น สารละลายวัคซีนจะถูกนำไปผสมกับสารเสริมฤทธิ์และตัวเจือจางในสัดส่วนที่เหมาะสม โดยส่วนผสมที่ได้มีชื่อว่าผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป ซึ่งจะถูกเก็บไว้ในห้องเย็นเพื่อตรวจสอบต่อไปก่อนจะถูกบรรจุลงขวดแก้วขนาดเล็กหรือกระบอกฉีดยาสำเร็จรูปในสภาพแวดล้อมปลอดเชื้อเพื่อให้สะดวกต่อการใช้งาน โดยผู้ผลิตจะทำการตรวจสอบเพิ่มเติมเพื่อรับประกันว่าวัคซีนเหมาะสมสำหรับใช้งาน ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองจะถูกติดป้ายชื่อและหมายเลขก่อนบรรจุลงกล่องพร้อมคู่มือผู้ใช้งาน
วัคซีนโรคโควิด-19 ชนิดเชื้อตายใช้เวลาผลิตนาน 48 วัน ตั้งแต่กระบวนการเพาะเลี้ยงเซลล์จนถึงการนำใส่หีบห่อ โดยวัคซีนต้องถูกจัดเก็บที่อุณหภูมิระหว่าง 2-8 องศาเซลเซียส จึงเป็นที่มาของการนำยานพาหนะควบคุมอุณหภูมิมาใช้จัดส่งวัคซีนไปยังพื้นที่หลายส่วนทั่วโลก
สำหรับวัคซีนซิโนแวคล็อตแรก จำนวน 2 แสนโดส มีกำหนดมาถึงประเทศไทยด้วยเที่ยวบินขนส่งสินค้า (Cargo) เที่ยวบินที่ TG675 เส้นทางปักกิ่ง-กรุงเทพฯ ทำการบินด้วยเครื่องบินแบบแอร์บัส A350-900 ออกเดินทางจากสาธารณรัฐประชาชนจีนในวันพฤหัสบดี่ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 06.50 น. (เวลาท้องถิ่น) ถึงกรุงเทพฯ เวลา 11.05 น. ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ทั้งนี้ วัคซีนดังกล่าวผ่านการรับรองโดยคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และสามารถฉีดให้ประชาชนในประเทศไทยได้แล้ว
---------------
ขอขอบคุณบทความและรูปภาพจาก Bangkokbiznews
คุณกำลังมองหาโบรกเกอร์ Forex แนะนำอยู่หรือไม่ ถ้าใช้ให้ดาวน์โหลดแอพ WikiFX เพื่อตรวจสอบโบรกเกอร์หรือดูการจัดอันดับ โบรกเกอร์ Forex เพราะแอพ WikiFX ได้ตรวจสอบโบรกเกอร์และคัดสรรมาให้หมดแล้ว ว่าโบรกเกอร์ไหนดีหรือไม่ดี
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ตำรวจจีนจับกุมเครือข่ายวัคซีนโควิดปลอมกว่า 80 คน ยึดของกลางได้กว่า 3,000 โดส
สิงคโปร์เริ่มฉีดวัคซีนต้านโควิดวันนี้ บุคลากรการแพทย์ได้สิทธิก่อน
สิงคโปร์ได้รับวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 ล็อตแรกจากบริษัทไฟเซอร์-ไบออนเท็คในวันจันทร์(21ธ.ค.)ทำให้สิงคโปร์กลายเป็นประเทศแรกในเอเชียที่ได้รับวัคซีนดังกล่าว
อียูเริ่มฉีดวัคซีนต้านโควิดให้ประชาชน 27 ธ.ค.นี้ หลังจากสำนักงานยาแห่งยุโรป (อีเอ็มเอ)ประชุมเพื่อสรุปผลการประเมินวัคซีนที่พัฒนาร่วมกันระหว่างบริษัทไฟเซอร์ของสหรัฐและบริษัทไบออนเท็คของเยอรมนี
HFM
OANDA
EC Markets
GO MARKETS
FBS
Vantage
HFM
OANDA
EC Markets
GO MARKETS
FBS
Vantage
HFM
OANDA
EC Markets
GO MARKETS
FBS
Vantage
HFM
OANDA
EC Markets
GO MARKETS
FBS
Vantage