简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:รู้หรือไม่ว่า ครั้งหนึ่งหุ้น Volkswagen เคยพุ่งขึ้นเกือบ 5 เท่า ในเวลาแค่ 2 วัน และนั่นส่งผลให้ค่ายรถเยอรมันรายนี้ กลายเป็นบริษัทมูลค่าสูงที่สุดในโลก
รู้หรือไม่ว่า ครั้งหนึ่งหุ้น Volkswagen เคยพุ่งขึ้นเกือบ 5 เท่า ในเวลาแค่ 2 วัน และนั่นส่งผลให้ค่ายรถเยอรมันรายนี้ กลายเป็นบริษัทมูลค่าสูงที่สุดในโลก ทั้งที่ความเป็นจริง โลกเรากำลังเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจครั้งสำคัญในปี 2008 แล้วค่ายรถก็หนีวิกฤตินั้นไม่พ้น แต่ราคาหุ้นกลับพุ่งขึ้นแบบไม่สนใจอะไรทั้งสิ้น จนเหตุการณ์ครั้งนั้นได้ชื่อว่าเป็นบทเรียนของปรากฏการณ์ Short Squeeze ที่รุนแรงสุดครั้งหนึ่งในโลกการเงิน..
ในปี 1993 ค่าย Volkswagen ประสบปัญหาทางการเงินครั้งใหญ่ ทำให้ Ferdinand Piëch ผู้เป็นหลานของ Ferdinand Porsche อาสาเข้ามารับงานซีอีโอจากนั้นในฝั่งของ Porsche เขาก็แต่งตั้ง Wendelin Wiedeking คนที่ไว้ใจขึ้นมาเป็นผู้บริหารแทน เท่ากับว่าตอนนี้ สองค่ายใหญ่ในเยอรมนี ก็อยู่ภายใต้ขั้วอำนาจเดียวกันแล้ว
เข้าสู่ยุค 2000 ค่าย Porsche ตอนนี้บริหารงานโดย Wendelin Wiedeking เริ่มมองไปถึงการเข้าซื้อกิจการของค่าย Volkswagen ซึ่งทางฝั่ง Ferdinand Piëch ก็ไม่ได้ขัดข้องอะไร เพราะเขามองว่าการควบรวมกิจการครั้งนี้ จะทำให้ค่ายรถเยอรมนียิ่งใหญ่ ก้าวสู่เบอร์ 1 ของโลกได้อย่างที่ไม่มีใครเคยทำมาก่อน ทั้งนี้ หุ้นของ Volkswagen ถูกถือไว้โดยรัฐนีเดอร์ซัคเซ่น อยู่ประมาณ 20% ทำให้เงินกำไรส่วนหนึ่งก็จะตกเป็นผลประโยชน์ของเยอรมนีเอง และไม่มีทางขายออกมาอยู่แล้ว
ขณะที่ใครอยากจะควบคุมบริษัทแบบเบ็ดเสร็จ ก็ต้องเข้าซื้อหุ้นอีก 80% ที่เหลือไว้นั่นเอง แผนการทั้งหมดจึงเริ่มต้นขึ้นในปี 2005 ทาง Porsche ประกาศว่าได้ถือหุ้น 20% ของ Volkswagen ไว้แล้ว ต่อมาอีก 3 ปี พวกเขาก็ค่อยๆ ซื้อหุ้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็น 35% ในเดือนกันยายนปี 2008
เป้าหมายของการเข้าซื้อ คือจะต้องถือครองหุ้นของ Volkswagen ให้ได้เกิน 50% อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีท่าทีว่า Porsche จะซื้อหุ้นเพิ่มไปให้ถึงระดับนั้น แล้วข่าวการเข้าซื้อกิจการก็ค่อยๆ เงียบลงไป แต่อย่างที่เราทราบกันดีว่า นั่นปี 2008 คือปีที่เกิดวิกฤติทางการเงินครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งของประวัติศาสตร์สหรัฐฯ และถึงตอนนั้น เงามืดกำลังค่อยๆ คืบคลานเข้ามายังเยอรมนี แบบที่ทั้งสองค่ายยังไม่รู้ตัว..
พอเกิดวิกฤติการเงินขึ้นในเดือนตุลาคม 2008 ราคาหุ้นไม่มีสิทธิโหวตของ Volkswagen ค่อยๆ ตกลงไป ตามวิกฤติที่เกิดขึ้นกับตลาดหุ้นทั่วโลก ปัญหาก็คือ.. ด้วยเหตุผลอะไรสักอย่าง ราคาหุ้นหลัก Volkswagen กลับไม่ลดลง แถมเพิ่มขึ้นจากในเดือนกันยายนที่ 200 ยูโรต่อหุ้น มาเป็น 400 ยูโร ในเดือนธันวาคม
และนั่นส่งผลให้ราคาหุ้นทั้ง 2 แบบของ Volkswagen ต่างกันมากถึง 80%
แบบนี้ก็เหมือนกับการเปิดช่องให้กับเหล่ากองทุนนัก Short มองว่ามันเกิดความผิดปกติ แล้วเข้ามาทำการ Short หุ้น Volkswagen กันเป็นจำนวนมาก ช่วงปลายเดือนตุลาคม ทุกอย่างเหมือนจะเป็นไปตามที่เหล่ากองทุน Short คิด เพราะราคาหุ้นของ Volkswagen ก็ปรับลดลงกลับมาเหลือเพียง 275 ยูโร และปรับตัวลงเหลือ 200 ยูโร แต่นั่นคือสถานการณ์ปกติที่เกิดขึ้นครั้งสุดท้าย เพราะหลังจากนั้น ก็เกิดเป็นสัปดาห์แห่งความวุ่นวาย และการหนีตายครั้งสำคัญ!!
วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม 2008
มีรายงานประจำสัปดาห์ว่าหุ้นของ Volkswagen ถูกกองทุน Short เอาไว้ถึง 12% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด คิดเป็นมูลค่า 300,000 ล้านบาท
วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม 2008
จู่ๆ ทาง Porsche ก็ออกมาประกาศว่า ตอนนี้ได้ถือหุ้น 42.6% ของ Volkswagen เอาไว้
และพวกเขายังมี Option ที่ซื้อเอาไว้ ว่าจะสามารถครอบครองหุ้นอีก 31.5% ได้แน่ๆ ไม่ว่าจะอยู่ที่ราคาเท่าไร (เพราะตัว Option ที่มีเป็นประกันว่าต่อให้หุ้นแพงแค่ไหน พวกเขาก็จะได้รับเงินส่วนต่างมาช่วยซื้อหุ้นได้แน่ๆ) เหมือนเป็นการเปิดเผยความจริงให้โลกได้รู้ว่า ตอนนี้ Porsche มีหุ้นรวม 74.1% ใน Volkswagen ค่อนข้างแน่แล้ว
ทีนี้ ถ้าเราไปรวมกับหุ้นที่รัฐนีเดอร์ซัคเซ่นถืออยู่ 20% เท่ากับว่าตอนนี้เหลือหุ้นที่ซื้อขายในตลาดได้เพียง 5.9% เท่านั้น แต่..!! หุ้นที่ถูกยืมมา Short นั้นมันมีถึง 12% แบบนี้ก็เท่ากับว่า จะมีแค่กองทุนเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น ที่สามารถซื้อหุ้นมาคืนได้ และด้วยเหตุนี้เอง สัปดาห์แห่งการหนีตายจึงเริ่มต้นขึ้น!!
วันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม 2008
เปิดตลาดเช้าวันจันทร์ หุ้น Volkswagen เปิดตลาดที่ 348 ยูโร เพิ่มขึ้นจากวันศุกร์ถึง 66% ก่อนที่จะปิดการซื้อขายในวันนั้นไปด้วยราคา 517 ยูโร
กองทุนบางส่วนที่รีบ Squeeze ออกมา ขาดทุนกันระนาว แต่สำหรับกองทุนที่ปิดสถานะ Short ไม่ทัน ความเลวร้ายเพิ่งจะเกิดเท่านั้น
วันอังคารที่ 28 ตุลาคม 2008
หุ้น Volkswagen เปิดตลาดตอนเช้าราคา 497 ยูโร ย่อลงมาเล็กน้อย แต่หลังจากนั้น ราคาหุ้นพุ่งไป 999 ยูโร เพราะการแย่งกันซื้อหุ้นคืนของเหล่ากองทุนทั้งหลาย ราคาที่สูงขนาดนั้น ทำให้ Volkswagen ไม่ใช่เพียงแค่บริษัทรถมูลค่าสูงที่สุด แต่กลายเป็นบริษัทเอกชนมูลค่าสูงสุดในโลกไปในทันที ด้วยมูลค่า 12.5 ล้านล้านบาท แถมยังมีการประเมินว่าความเสียหายของกองทุน Short ในตอนนั้น อาจจะรวมกันสูงถึง 900,000 ล้านบาท!!
จนกระทั่งวันพุธที่ 29 ตุลาคม ดูเหมือนว่า Porsche จะรู้สึกตัวว่าได้บังเอิญสร้างความโกลาหลครั้งรุนแรงเข้าให้แล้ว พวกเขาจึงประกาศขายหุ้นคืนให้ตลาดที่ประมาณ 5% เพื่อให้เหล่ากองทุน Short ได้ค่อยๆ ซื้อหุ้นคืน แต่กว่าสถานการณ์ทุกอย่างจะกลับไปเป็นปกติอีกครั้ง ก็กินเวลายาวไปจนถึงเดือนธันวาคมเลยทีเดียว
แล้วสิ่งที่ตลกร้ายกว่านั้น ก็เกิดขึ้นในปีถัดมา.. เพราะในปี 2009 ปัญหาทางการเงินที่เกิดขึ้นจากวิกฤติเศรษฐกิจ ทำให้ Porsche ต้องเอาเงินไปโปะส่วนธุรกิจที่ขาดทุน และเกิดหนี้หลายแสนล้านให้ต้องจัดการ พวกเขาไม่สามารถหาเงินมาซื้อหุ้น Volkswagen ได้ แผนเข้าซื้อกิจการที่ดำเนินมาหลายปี กลับต้องยกเลิกลงในตอนนั้น แล้วก็ดันเป็นฝ่าย Volkswagen ที่นำโดย Ferdinand Piëch ที่รอดพ้นจากวิกฤติเศรษฐกิจได้เร็วกว่า ทำแผน “Reverse Takeover” หรือเข้าซื้อกิจการของ Porsche ซะเอง
(แต่กว่าจะทำการเข้าซื้อได้เสร็จสมบูรณ์ ก็ต้องใช้เวลาถึง 3 ปี เพื่อจัดการทุกสิ่งทุกอย่างให้แล้วเสร็จในปี 2012)
ในขณะที่ Volkswagen ก็เป็นเจ้าของ Porsche แบบเต็มตัว พร้อมกับแบรนด์อื่นๆ ในเครืออย่าง Audi, Bentley, Ducati หรือ Lamborghini แต่.. จำได้รึเปล่าว่า Porsche เองก็ถือหุ้นของ Volkswagen อยู่ที่ประมาณ 30% ทำให้พวกเขาก็เป็นเจ้าของ Volkswagen อีกต่อหนึ่ง เรียกว่าทั้งสองกิจการนี้ คงยากที่จะแยกจากกันในอนาคตแล้ว
ปิดท้าย..
งานนี้เหล่ากองทุนนัก Short ได้บทเรียนอันเจ็บปวด ว่าแม้จะ Short หุ้นในวิกฤติเศรษฐกิจ ก็ไม่ได้หมายถึงกำไรในทุกครั้ง งานนี้ Wendelin Wiedeking ก็ออกจากบริษัทในภายหลัง แล้วไปเปิดธุรกิจร้านพิซซ่าแทน
และ Porsche กลายเป็นบริษัทที่เล็กลงกว่าตอนนั้น แต่ถ้าจะถามว่าใครที่เป็นผู้ชนะที่สุดในเรื่องนี้ คงจะหนีไม่พ้น Ferdinand Piëch เองนั่นแหละ
รู้ยังตอนนี้แอป WikiFX จะมีส่งแจ้งเตือน “แนวโน้มคู่เงินหลักในตลาด” ทุกวันตอนเช้า พร้อมแนะนำช่วงเวลาที่ควรออกออเดอร์ด้วยนะ ต้องดาวน์โหลดแอป WikiFX แล้วแหละ
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
Vantage
Octa
FP Markets
FBS
HFM
FOREX.com
Vantage
Octa
FP Markets
FBS
HFM
FOREX.com
Vantage
Octa
FP Markets
FBS
HFM
FOREX.com
Vantage
Octa
FP Markets
FBS
HFM
FOREX.com