简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ดอลลาร์ดิ่งลงแตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 2 ปีเทียบสกุลเงินหลัก ขณะที่นักลงทุนพากันเข้าซื้อสกุลเงินที่เป็นสินทรัพย์เสี่ยง และเทขายดอลลาร์ ซึ่งเป็นสกุลเงินปลอดภัย
ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ร่วงลงแตะระดับ 89.767 ในวันพฤหัสบดี(17ธ.ค.) ซึ่งเป็นการดิ่งลงทะลุระดับ 90 เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนเม.ย.2561
เมื่อเวลา 22.26 น.ตามเวลาไทย ดอลลาร์ร่วงลง 0.52% สู่ระดับ 102.94 เยน ขณะที่ยูโรปรับตัวลง 0.1% สู่ระดับ 126.08 เยน และดีดตัวขึ้น 0.43% สู่ระดับ 1.225 ดอลลาร์
ดอลลาร์ถูกกดดันจากหลายปัจจัยในวันนี้ ซึ่งได้แก่ ความคืบหน้าในการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐ, การที่อังกฤษและสหภาพยุโรป (อียู) มีแนวโน้มบรรลุข้อตกลงการค้า รวมทั้งการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้คำมั่นที่จะใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงิน และการอัดฉีดเม็ดเงินผ่านทางการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐ
นายมิตช์ แมคคอนเนลล์ ผู้นำเสียงข้างมากในวุฒิสภาสหรัฐ กล่าวว่า การเจรจาระหว่างแกนนำในสภาคองเกรสประสบความคืบหน้าในการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อเยียวยาประชาชนและภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รวมทั้งการออกกฎหมายงบประมาณชั่วคราวเพื่อหลีกเลี่ยงการปิดหน่วยงานของรัฐบาลอันเนื่องจากการขาดแคลนงบประมาณ (ชัตดาวน์)
“เรามีความคืบหน้าครั้งสำคัญ และผมเชื่อมั่นว่าเราจะสามารถบรรลุข้อตกลงในไม่ช้า” นายแมคคอนเนลล์กล่าว
สมาชิกพรรครีพับลิกันและเดโมแครตได้เห็นพ้องที่จะแยกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 9.08 แสนล้านดอลลาร์ออกเป็นร่างกฎหมาย 2 ฉบับเพื่อเพิ่มโอกาสในการได้รับการอนุมัติจากสภาคองเกรส โดยฉบับแรกจะมีวงเงิน 7.48 แสนล้านดอลลาร์เพื่อเยียวยาผู้ที่ตกงานและธุรกิจขนาดย่อมที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ขณะที่อีกฉบับหนึ่งจะมีวงเงิน 1.60 แสนล้านดอลลาร์เพื่อให้ความช่วยเหลือมลรัฐต่างๆ
ด้านนายมิเชล บาร์นิเยร์ ซึ่งเป็นหัวหน้าผู้แทนการเจรจาฝ่ายอียูว่าด้วยการแยกตัวของอังกฤษออกจากอียู (เบร็กซิท) เปิดเผยว่า การบรรลุข้อตกลงการค้าระหว่างอังกฤษ และอียูยังคงมีความเป็นไปได้ พร้อมระบุว่า การเจรจาระหว่างทั้งสองฝ่ายยังคงดำเนินไปในขณะนี้ เพื่อประสานความคิดเห็นที่แตกต่างกันในประเด็นการประมง และกฎระเบียบที่จะนำมาใช้ต่อบริษัทต่างๆ อย่างเป็นธรรม
ขณะเดียวกัน เฟดมีมติเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับ 0.00-0.25% ในการประชุมวานนี้ โดยเฟดระบุว่าจะยังคงใช้เครื่องมือทุกอย่างในการสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
เฟดระบุว่าจะยังคงซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) วงเงินรวม 1.2 แสนล้านดอลลาร์/เดือน โดยเฟดจะซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐวงเงิน 8 หมื่นล้านดอลลาร์/เดือน และซื้อตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันการจำนอง (เอ็มบีเอส) ในวงเงิน 4 หมื่นล้านดอลลาร์/เดือน จนกระทั่งบรรลุเป้าหมายของเฟดในการจ้างงานเต็มศักยภาพ และรักษาเสถียรภาพของราคา
นอกจากนี้ เฟดมีมุมมองที่ดีขึ้นต่อเศรษฐกิจและการจ้างงานในสหรัฐ
ทั้งนี้ เฟดคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะหดตัวลงเพียง 2.4% ในปีนี้ จากเดิมที่คาดว่าจะหดตัว 3.7% ก่อนที่จะมีการขยายตัว 4.2% ในปี 2564 จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 4% และจะขยายตัว 3.2% ในปี 2565 จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 3%
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นในเช้าวันนี้ แต่ย่อตัวลงมา เนื่องจากนักลงทุนยังคงกังวลว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อจะส่งผลต่อการตัดสินใจเชิงนโยบายของเฟด
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นทันทีหลังจากที่ได้ทราบตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ขยายตัวเพิ่มขึ้นเร็วที่สุดนับตั้งแต่ปี 2008 ก่อนหน้านี้นายเจอโรม พาวเวลล์เคยออกมาเตือนเกี่ยวกับการเร่งตัวขึ้นของอัตราเงินเฟ้อชั่วคราวแล้ว แต่ไม่มีใครคิดว่าตัดชี้วัดเงินเฟ้ออย่าง CPI จะเพิ่มขึ้นมาได้เร็วขนาดนี้
ค่าเงินดอลลาร์ขยับขึ้นสูงขึ้นในช่วงบ่ายวันอังคาร แต่การเพิ่มขึ้นนั้นได้รับผลกระทบจากความแข็งแกร่งของสกุลเงินสินค้าโภคภัณฑ์เนื่องจากราคาน้ำมันและโลหะพื้นฐานที่เพิ่มขึ้น
ค่าเงินดอลลาร์ อ่อนค่าลงในเช้าวันพฤหัสบดีในเอเชีย โดยยังคงอยู่ใกล้ระดับต่ำสุดในรอบหลายสัปดาห์ เนื่องจากผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐที่ลดลงช่วยลดความได้เปรียบด้านอัตราดอกเบี้ยของสกุลเงินสหรัฐที่ถือว่าเป็นทรัพย์สินปลอดภัย