简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:สัปดาห์ที่ผ่านมา ความหวังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจใหม่ของสหรัฐฯ ยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนตลาด
ติดตามการพิจารณามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจใหม่ของสหรัฐฯ และความคืบหน้าการเจรจาข้อตกลง Brexit ที่อาจส่งผลให้ตลาดการเงินมีความผันผวนสูงขึ้นได้
เงินดอลลาร์ยังมีแรงหนุนจากความไม่แน่นอนที่ยังสูงอยู่ และเงินดอลลาร์อาจแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ โดยเฉพาะยูโรและปอนด์ หากตลาดกังวลการฟื้นตัวเศรษฐกิจยุโรป ไปพร้อมกับการเจรจาข้อตกลง Brexit ที่ล้มเหลว ทั้งนี้เงินบาทจะไม่อ่อนค่าไปมาก เพราะผู้ส่งออกก็เตรียมรอขายเงินบาทหากอ่อนค่าใกล้ 31.40 บาท/ดอลลาร์
กรอบเงินบาทสัปดาห์หน้า 30.90-31.40 บาท/ดอลลาร์
มุมมองนโยบายการเงิน
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) ในวันอังคาร ตลาดคาดว่า BI จะ“คง”อัตราดอกเบี้ย (7D Reverse Repo) ไว้ที่ระดับ 4.00% ทั้งนี้ หากความผันผวนของค่าเงินรูเปียะห์ลดลง BI ก็อาจลดดอกเบี้ยลงอีก ในไตรมาส 4 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) ในวันพุธ ตลาดคาดว่า MAS จะ“คง”ความชันของกรอบค่าเงิน (Slope of SGDNEER) ไว้ที่ระดับ 0% ทั้งนี้ MAS อาจปรับให้ SGDNEER แกว่งตัวใกล้กรอบล่างมากขึ้น เพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวเศรษฐกิจ
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) ในวันพุธ ตลาดคาดว่า BOK จะ“คง”อัตราดอกเบี้ย (7D Repo) ไว้ที่ระดับ 0.50% โดยตลาดคาดว่าอาจจะมีการคงดอกเบี้ยไปจนถึงสิ้นปี 2021 หลังเศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัวดีขึ้น จากการระบาดของ COVID-19 ที่เริ่มสงบลง
มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก
ฝั่งสหรัฐฯ – ความไม่แน่นอนของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจใหม่ ท่ามกลางการระบาดของ COVID-19 รวมถึงความไม่แน่นอนจากการเลือกตั้งสหรัฐฯ มีโอกาสกดดันให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภค (UofMichigan Consumer Sentiment) เดือนตุลาคม ลดลงสู่ระดับ 80จุด จากระดับ 80.4จุด ในเดือนก่อนหน้า
ฝั่งยุโรป – การระบาดของ COVID-19 ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น จะทำให้ตลาดมีความเชื่อมั่นแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจในยุโรปลดลง โดยดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจของเยอรมนีและยุโรป (Zew Economic Sentiment) เดือนตุลาคมจะลดลงสู่ระดับ 72จุด และ 70จุด ตามลำดับ นอกจากนี้ตลาดจะติดตามการประชุมสุดยอดผู้นำยุโรป (EU Summit) เพื่อหาทางสรุปการเจรจา Brexit ที่มีโอกาสจบลงด้วยการที่อังกฤษออกจากสหภาพยุโรปโดยไร้ข้อตกลง
ฝั่งเอเชีย – ภาพรวมเศรษฐกิจเอเชียยังคงสดใส โดยการค้ายังคงเป็นปัจจัยช่วยหนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน โดยตลาดมองว่ายอดส่งออก (Exports) เดือนกันยายน จะโตขึ้น 10% จากปีก่อนหน้า ส่วนยอดนำเข้า (Imports) จะกลับมาโตได้ 0.1% จากที่หดตัว 2.1% ในเดือนก่อน นอกจากนี้ เศรษฐกิจสิงคโปร์ในไตรมาสที่ 3 ก็จะกลับมาขยายตัว 33% จากไตรมาสก่อนหน้า หลังรัฐบาลสามารถคุมการระบาด COVID-19 ได้ดีขึ้น จนสามารถทยอยผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ได้
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
Tickmill
Pepperstone
GO MARKETS
FP Markets
IQ Option
Vantage
Tickmill
Pepperstone
GO MARKETS
FP Markets
IQ Option
Vantage
Tickmill
Pepperstone
GO MARKETS
FP Markets
IQ Option
Vantage
Tickmill
Pepperstone
GO MARKETS
FP Markets
IQ Option
Vantage