简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:กลายเป็นเรื่องราวใหญ่โต เมื่อ “Facebook” (เฟซบุ๊ค) ยักษ์ใหญ่โซเชียลมีเดีย เจอแบรนด์ระดับโลกแห่ถอนโฆษณาซึ่งเป็นแหล่งรายได้หลักของบริษัทตลอดหลายปีหลัง แล้วอะไรเป็นชนวนเหตุให้เกิดกระแสบอยคอตนี้ และ Facebook จะปรับกลยุทธ์รับมืออย่างไร
ช่วงสัปดาห์ที่แล้วถือเป็นสัปดาห์อันเลวร้ายสำหรับ Facebookหลังเกิดกระแสวงกว้างที่บริษัทยักษ์ใหญ่หลายรายออกมาสนับสนุนประเด็นทางสังคมเพื่อต่อต้านข้อความสร้างความเกลียดชังผ่านโซเชียลมีเดียพร้อมประกาศพักการซื้อโฆษณาบน Facebook ชั่วคราวขณะเดียวกันอาจจะมีแบรนด์ดังเข้าร่วมแจมมากขึ้นเรื่อย ๆ
กระแสกดดันนี้มีขึ้นเพื่อกดดันให้ยักษ์ใหญ่สังคมออนไลน์เพิ่มความพยายามในการควบคุมโพสต์ยั่วยุให้เกิดความเกลียดชังหรือ “hate speech”และโพสต์ข้อมูลบิดเบือนต่าง ๆ ซึ่งแพร่กระจายทั่วชุมชนออนไลน์ยอดนิยมนี้ ข้อความจำนวนมากมีที่มาจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐและนักการเมืองรายอื่น ๆ ซึ่งมักพาดพิงประเด็นอ่อนไหวเกี่ยวกับเชื้อชาติ
โดยเฉพาะช่วงที่หลายเมืองในสหรัฐมีการประท้วงต่อต้านการเหยียดสีผิวหลังการเสียชีวิตของ “จอร์จ ฟลอยด์”ชาวอเมริกันผิวสี บ่อยครั้งที่พบว่าโพสต์ซึ่งมีเนื้อหาสร้างความเกลียดชังด้านเชื้อชาติหรือข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการประท้วงต่าง ๆ ปรากฏโฆษณาของแบรนด์ดังบนโพสต์นั้น จนทำให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์เสียหายและถูกคนวิจารณ์ไปด้วย
นั่นทำให้ขณะนี้ Facebookกำลังเผชิญกับผลกระทบลุกลามเหมือนไฟลามทุ่ง จากการที่แบรนด์ต่าง ๆ แห่ถอนโฆษณาบนแพลตฟอร์มตัวเอง และเมื่อดูจากจำนวนพันธมิตรที่ลงโฆษณาบน Facebook จำนวน 8 ล้านราย สถานการณ์นี้จึงถือเป็น“เรื่องใหญ่มาก”
แบรนด์ดังพร้อมใจระงับโฆษณา
ในบรรดาบริษัทรายใหญ่ที่ร่วมถอนโฆษณาจาก Facebook นี้ รวมไปถึง Unilever (ยูนิลีเวอร์), Coca-Cola (โคคา-โคล่า), Honda (ฮอนด้า) และรายล่าสุดคือStarbucks (สตาร์บัคส์)ที่ประกาศถอนโฆษณาในสื่อสังคมออนไลน์เมื่อวันอาทิตย์ (28 มิ.ย.) ตามรอย Unilever และ Coca-Cola ที่ถอนโฆษณาตั้งแต่วันศุกร์ (26 มิ.ย.) ที่ผ่านมา
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายแบรนด์ที่ร่วมถอนโฆษณาในช่วงสัปดาห์ที่แล้ว เช่น Hershey Co. (เฮอรชีย์ โค), Diageo Plc (ดิอาจิโอ), PepsiCo (เป๊ปซี่โค), Verizon Communications Inc. (เวอไรซอน คอมมูนิเคชันส์ อิงค์) และ Ben & Jerrys Homemade Inc. (เบน แอนด์ เจอร์รีส์ โฮมเมด อิงค์)
“เราเชื่อในการรวมชุมชนเข้าด้วยกัน ทั้งในชีวิตจริงและแพลตฟอร์มออนไลน์ และเราขอยืนหยัดต่อต้าน hate speech” Starbucksซึ่งมีเชนร้านกาแฟหลายหมื่นแห่งทั่วโลก ระบุ “เราเชื่อว่าผู้นำธุรกิจและผู้กำหนดนโยบายจำเป็นต้องร่วมมือกันเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง ระหว่างที่มีการหารือภายในบริษัทและกับหุ้นส่วนสื่อมวลชนและองค์กรด้านสิทธิพลเมือง เราจะระงับการซื้อโฆษณาออนไลน์ในทุกแพลตฟอร์ม เพื่อยับยั้งการเผยแพร่ถ้อยคำยั่วยุความเกลียดชัง”
กระแสแห่ถอนโฆษณาบน Facebook เกิดขึ้นในช่วงที่สังคมอเมริกันกำลังถกเถียงเกี่ยวกับข้อความhate speechที่ระบาดหนักในโซเชียลมีเดียโดยเฉพาะ Facebook ที่ถูกวิจารณ์อย่างหนักกรณีไม่มีมาตรการลบโพสต์ที่กระตุ้นความเกลียดชังหรือแสดงถึงการแบ่งแยกทางสีผิว
นอกจากนี้ กลุ่มสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ได้เรียกร้องให้มีการคว่ำบาตรยักษ์ใหญ่สังคมออนไลน์หลังจากการเสียชีวิตของ จอร์จ ฟลอยด์และเรียกร้องให้ Facebook ดำเนินการมากขึ้น เพื่อยับยั้งการโพสต์ข้อความที่สร้างความเกลียดชัง และข้อมูลไม่ถูกต้องบนแพลตฟอร์มด้วย
สมาคมแห่งชาติเพื่อความก้าวหน้าของผู้คนหลากสีผิว (NAACP)องค์กรสิทธิพลเมืองในสหรัฐซึ่งต่อสู้เพื่อสิทธิของชาวอเมริกันผิวสี และสันนิบาตต่อต้านการใส่ร้าย (Anti-Defamation League)ออกมารณรงค์ให้บริษัทต่าง ๆ ร่วมกันบอยคอต Facebook ในเดือน ก.ค.
Facebook รับมือยังไง
ฝั่ง Facebookส่งสัญญาณว่าจะตั้งใจจัดการเรื่องนี้ภายใต้เงื่อนไขของตัวเอง โดย “แคโรลิน เอฟเวอร์สัน” รองประธานฝ่ายโซลูชั่นธุรกิจระดับโลกของ Facebookออกหนังสือชี้แจงถึงแบรนด์ต่าง ๆ เมื่อวันศุกร์ว่า โดยทั่วไปแล้ว การบอยคอตไม่ใช่วิธีการสำหรับเราในการสร้างความก้าวหน้าไปด้วยกัน
“ดิฉันหวังอย่างยิ่งว่า ณ ตอนนี้ คุณคงรู้ว่าเราไม่เปลี่ยนนโยบายตามแรงกดดันด้านรายได้ เรากำหนดนโยบายของเราอิงจากหลักการมากกว่าผลประโยชน์ทางธุรกิจ”
มาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) Facebookประกาศวันเดียวกันว่า บริษัทจะเริ่มติดแท็ก “Harmful”เตือนโพสต์ที่มีเนื้อหาอันตรายซึ่งก่อให้เกิดความโกรธแค้นในสังคม แม้เขาไม่ได้พูดถึงกระแสบอยคอตโดยตรง แต่คาดว่าเพื่อเป็นการลดกระแสกดดันที่สปอนเซอร์รายใหญ่ถอนโฆษณา
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
IC Markets Global
STARTRADER
FOREX.com
FBS
FP Markets
GO MARKETS
IC Markets Global
STARTRADER
FOREX.com
FBS
FP Markets
GO MARKETS
IC Markets Global
STARTRADER
FOREX.com
FBS
FP Markets
GO MARKETS
IC Markets Global
STARTRADER
FOREX.com
FBS
FP Markets
GO MARKETS