简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:คุณผู้อ่านหลายท่านคงคุ้นเคยกับคำว่า “Carry Trade” คำๆนี้มีความหมายง่ายๆคือ กิจกรรมทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับการยืมในตลาดที่ให้ยืมในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ และนำไปให้ยืมหรือลงทุนในตลาดที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง ในขณะที่ตลาดโดยรวมค่อนข้างมีเสถียรภาพ เพื่อความง่ายขึ้นอีก…ผมจะขอยกตัวอย่างเกี่ยวกับ Carry Trade ให้คุณผู้อ่านได้เข้าใจ ดังนี้ครับ
“แม่บ้านญี่ปุ่น” ในครอบครัวของคนญี่ปุ่น ผู้ที่กุมเงินและมีอำนาจในการตัดสินใจในการลงทุนก็คือ แม่บ้านญี่ปุ่นนั่นเอง ซึ่งพวกเธอต้องแสวงหาวิธีการลงทุนที่จะทำให้เงินออมโตขึ้น…โตขึ้น แต่ด้วยนโยบายของธนาคารกลางญี่ปุ่น ก็ได้ทำให้อัตราดอกเบี้ยฝากประจำในธนาคารของญี่ปุ่นลดลงเกือบเป็น 0% ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำถึงเพียงนี้ จึงทำให้แม่บ้านญี่ปุ่นต้องพยายามดิ้นรนแสวงหาแหล่งลงทุนใหม่ ซึ่งสามารถที่จะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า พวกเธอพบว่าการฝากเงินประจำในประเทศออสเตรเลียให้ผลตอบแทนสูงถึง 8% ต่อปี ในประเทศตุรกีให้ผลตอบแทนที่สูงมากนั่นคือ 17% ต่อปี ซึ่งทำให้แม่บ้านญี่ปุ่นพยายามที่จะโอนเงินไปฝากในต่างประเทศเพื่อผลตอบแทนที่ดีกว่า ทั้งนี้หนึ่งในวิธีการลงทุนที่นิยมมากก็คือ การลงทุนในอัตราแลกเปลี่ยน (Forex) บนความได้เปรียบที่ค่าดอกเบี้ยที่ต่ำ ก็ได้ทำให้แม่บ้านญี่ปุ่นจำนวนมากประสบความสำเร็จ จนบางรายประสบความสำเร็จจนกลายเป็นเศรษฐี ในบางบทความที่ผมได้ศึกษาถึงกับใช้คำว่า “Forex Divas” ซึ่งแปลตามความได้ว่า “นางฟ้าแห่งการเทรดอัตราแลกเปลี่ยน”
แล้วเจ้า Carry Trade ตัวนี้มันทำให้เศรษฐกิจพังได้อย่างไรกันล่ะ?
ก่อนปี 2540 อัตราดอกเบี้ยในประเทศไทยสูงมาก ฝากประจำ 12 เดือนในบางธนาคารอาจได้ดอกเบี้ยสูงถึง 10% ทีเดียว ในขณะที่การกู้เงินจากต่างประเทศรวมถึงค่าธรรมเนียมต่างๆแล้ว มีต้นทุนอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 5% – 6% เท่านั้น ประกอบกับรัฐบาลออกนโยบาย BIBF เพื่อให้สามารถกู้เงินจากต่างประเทศได้อย่างสะดวก และค่าเงินบาทในเวลานั้นก็มีนโยบายเกือบจะผูกติดกับค่าเงินดอลลาร์ของสหรัฐอเมริกา ก็ทำให้บรรดาเศรษฐีทำการ Carry Trade โดยการกู้เงินดอลลาร์เข้ามาอย่างมหาศาล เพื่อนำไปฝากเงินภายในประเทศที่ให้อัตราดอกเบี้ยสูง หรือนำไปลงทุนในตลาดหุ้น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และเกือบทุกธุรกิจที่ให้ผลตอลแทนสูงกว่า ในที่สุดภาคเอกชนของไทยก็กู้ยืมเงินต่างประเทศกันอย่างมือเติบ โดยเงินกู้ส่วนใหญ่มีอายุไม่เกินหนึ่งปี หลังจากนั้นก็เกิดการโจมตีค่าเงินบาท ทำให้การแลกเปลี่ยนเงินบาทเป็นดอลลาร์มีอัตราสูงขึ้นตลอด และท้ายที่สุดก็ตามมาด้วยการประกาศลอยตัวค่าเงินบาท และทำให้ประเทศไทยเข้าสู่ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ธุรกิจเกือบทั้งประเทศมีหนี้สินล้นพ้นตัว และนำไปสู่การขอความช่วยเหลือจากไอเอ็มเอฟ
เหตุการณ์หน้าตาคล้ายกันนี้ก็เกิดขึ้นอีกในปีนี้ เพียงแต่สถานที่ไม่ใช่…ประเทศไทยเท่านั้นเอง ในตุรกีมีอัตราดอกเบี้ยการกู้ยืมที่สูงถึงประมาณ 20% ทำให้บรรดาพ่อค้าพยายามที่จะทำ Carry Trade โดยการหาเงินกู้ในสกุลดอลลาร์ที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำจากต่างประเทศ นำมาลงทุนในประเทศที่เศรษฐกิจกำลังโต แน่นอนว่า…เงินกู้จำนวนมหาศาลก็หลั่งไหลเข้าสู่ตุรกีอย่างไม่ขาดสาย ตามมาด้วยการขาดดุลการค้าและการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างมโหฬาร และนำไปสู่การดิ่งฮวบลงของเงินลีราของตุรกีโดยตกไปมากกว่า 35% ทีเดียว และทำให้ภาคธุรกิจทั้งประเทศมีหนี้สินกันเกือบจะถ้วนหน้าในประเทศอังกฤษ…ซึ่งเป็นตลาดการเงินใหญ่ระดับโลก มีการออกโครงการการซื้อบ้านที่เรียกว่า “Buy-to-Let” แปลง่ายๆว่า ซื้อบ้าน…ให้เช่า โดยจะให้ผู้ร่วมโครงการซื้อบ้านที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำ และจะนำบ้านไปให้คนอื่นเช่าในอัตราค่าเช่าที่สูงกว่าค่าผ่อนชำระรายเดือน ทำให้คนซื้อบ้านสามารถทำกำไรจากส่วนต่างของค่าเช่าที่สูงกว่าค่าผ่อนต่อเดือน การทำกำไรในลักษณะนี้จะดำเนินต่อไปได้เรื่อยๆตราบใดที่อัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับต่ำ และตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังอยู่ในขาขึ้น
แต่หากทุกอย่างเกิดขึ้นในทิศทางตรงกันข้าม…จะเป็นอย่างไรล่ะ?
เหตุการณ์ดังกล่าวเคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีตนั่นคือ วิกฤตเศรษฐกิจ “แฮมเบอร์เกอร์” ในปี 2551 นโยบายการใช้อัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นระยะเวลานานกว่า 10 ปีของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (เฟด) ทำให้เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ตามมาด้วยความต้องการบ้านเช่าจำนวนมหาศาลในอัตราค่าเช่าที่สูงเพื่อสนองตอบกับความต้องการจำนวนมาก จากนั้นก็เกิดกระแส “Buy-to-Let” ครั้งยิ่งใหญ่ในอเมริกา ผู้คนต่างพยายามหาซื้อบ้านเพื่อปล่อยเช่า โดยหวังจะได้กำไรจากส่วนต่าง จนบรรดาธนาคารทั่วสหรัฐอเมริกาก็ปล่อยกู้กันแทบจะหมดหน้าตักแล้ว…ก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการที่เหลือล้นภายในประเทศ จึงเกิดการทำ Carry Trade จากเงินหลายสกุล ในช่วงเวลานั้นอัตราดอกเบี้ยของญี่ปุ่นต่ำจนเกือบเป็นศูนย์ จึงไม่น่าแปลกใจว่าจะเกิดการทำ Carry Trade ครั้งใหญ่จากเงินญี่ปุ่นหรือที่เราเรียกว่า Yen Carry Trade เงินอีกหลากหลายประเทศก็วิ่งตรงเข้าสู่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา ราคาบ้านทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการ์ครั้งแล้วครั้งเล่า พร้อมๆกับการปล่อยกู้ให้กับลูกค้าชั้นรองที่มีรายได้ไม่แน่นอนหรือที่เราเรียกว่า “Subprime Customers” พอเศรษฐกิจเริ่มหันหัวลง ทุกอย่างก็เริ่มต้นพังพินาศ เริ่มจากค่าเช่าเริ่มเท่ากับค่าผ่อนต่อเดือน…จากนั้นค่าเช่าก็เริ่มน้อยกว่าค่าผ่อน…จนในที่สุดก็ไม่มีคนเช่าบ้าน…แต่ยังต้องผ่อนกับธนาคารเต็มจำนวนอยู่ ลู้กค้าชั้นรองเริ่มตกงานหรือเริ่มขายของไม่ได้ ปล่อยให้บ้านถูกยึดไป ธนาคารก็เริ่มฝืดเคือง…นำไปสู่การเบี้ยวหนี้ของบรรดาเจ้าหนี้ที่ทำ Carry Trade กันมาจากต่างประเทศ ท้ายที่สุดก็นำไปการยึดบ้านจำนวนมากที่สุดในโลก และนำไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก
หลังเหตุการณ์วิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนั้นพบว่า การกู้ยืมเงินดอลลาร์เพื่อเอาไปใช้กับธุรกิจอื่นๆนอกสหรัฐอเมริกา จากปี 2550 อยู่ 9.5% ของขนาดเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ในไตรมาสหนึ่งของปีนี้ (2561) เพิ่มขึ้นเป็น 14% นั่นแสดงว่าให้เห็นว่า ทุกวันนี้การทำ Carry Trade มีแต่จะเพิ่มขึ้น…และเพิ่มขึ้น
อีกเหตุผลหนึ่งที่ยังแสดงว่า Carry Trade ยังคงรุ่งเรือง และจะยังเดินไปไกลอีกแสนไกลก็คือ เมื่อใดก็ตามที่ Carry Trade เพิ่มขึ้น เมื่อนั้นสภาพคล่องทางการเงินก็จะเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว เงินส่วนเกินจำนวนมากนี้ก็จะตกไปอยู่ในมือของผู้คนทั่วไปจำนวนมหาศาล ก็ให้เกิดความอยากใช้สอยของเงินที่ได้มาอย่างไม่สิ้นสุด และจากนั้นสินทรัพย์ต่างๆก็จะซื้อขายมากขึ้น…ที่ราคาสูงขึ้น…สูงขึ้น ทุกวันนี้ความมั่งคั่งโดยรวมของคนสหรัฐอเมริกาคิดเป็น 5.24 เท่าของขนาดเศรษฐกิจทั้งประเทศ และถือเป็นขนาดใหญ่ที่สุดอีกครั้งหนึ่งเท่าที่เคยมีมา นั่นแสดงให้เห็นว่า ผู้คนยังมีเงินเหลืออยู่ในมืออีกมหาศาล และกลไก Carry Trade ก็กำลังรอคอยต้อนรับ… “เม็ดเงินส่วนเกิน”
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
HFM
STARTRADER
VT Markets
IC Markets Global
Tickmill
FXTM
HFM
STARTRADER
VT Markets
IC Markets Global
Tickmill
FXTM
HFM
STARTRADER
VT Markets
IC Markets Global
Tickmill
FXTM
HFM
STARTRADER
VT Markets
IC Markets Global
Tickmill
FXTM